KMUTT Organization Transformation

ปรับเปลี่ยน มจธ. พร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลง

โดย ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์  รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหาร

วิกฤตการณ์ COVID-19 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง และเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ไปในทุกภาคส่วน ทำให้ทุกองค์กรต้องรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ New Normal หรือวิถีปกติใหม่ คือ สิ่งที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ดังกล่าว การปรับเปลี่ยนองค์กรจึงเป็นหนทางที่จะสามารถฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปได้ 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ 5 ปีในการเป็น The best 

Science Technology Innovation University in Thailandfor Learning Innovation โดยมีการวางแนวคิดเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการขับเคลื่อนสิ่งที่เรียกว่า ‘KMUTT4Life’ อันจะเป็นกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย และก้าวสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ภายใต้ ‘KMUTT Educational Reform’ ที่เปิดกว้างให้กับทุกคนได้สามารถเข้ามาศึกษาที่ มจธ. โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรคต่อผู้ที่ต้องการเรียนรู้อย่างแท้จริง 

นอกจากนั้นเพื่อให้สอดรับกับ ‘KMUTT4Life’ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมมือกันในการปรับกระบวนการทำงาน พัฒนาทักษะของตนเองให้สามารถทำงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ซึ่งกุญแจสำคัญของ มจธ. คือ “ความพร้อม” ในการบริหาร “จุดแข็ง” จัดการ “จุดอ่อน” มองหา “โอกาส” และการ “รวมพลัง” ของคนในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนองค์กร อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายเดียวกัน



ความพร้อมของ มจธ. ในการปรับองค์กรรับผลกระทบจากวิกฤตการณ์


ความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับ มจธ. 

ผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ทุกภาคส่วนล้วนต้องปรับตัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นในการพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ประชาสังคม จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้การทำงาน ยังคงสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่มหาวิทยาลัยวางไว้

นอกจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 มีผลกระทบโดยตรงด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความท้าทายกับ มจธ. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อยู่หลายประเด็น 

ความท้าทายแรก คือ เรื่อง New Normal ด้านสุขภาพ ในเรื่องของการเว้นระยะห่างทางกายภาพ มจธ. เองได้มีการปรับกระบวนการเรียนให้มีการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ ที่ทำให้ประสบการณ์การเรียนเปลี่ยนไป แต่การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ การมี University Experience เพื่อให้นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัย ฉะนั้น เมื่อจำเป็นจะต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งมีขนาดพื้นที่ไม่มากนัก จึงต้องมีการบริหารจัดการจำนวนคนในการเข้าเรียนต่อไปอาจจะต้องขยายช่วงเวลาให้มีการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น จากเดิม จันทร์ – ศุกร์ เป็นวันจันทร์ – วันเสาร์ หรือจัดการเรียนการสอนแบบเหลื่อมเวลากัน ตั้งแต่ 08.00 – 20.00 น. แทน 

เพื่อรองรับนักศึกษาจำนวนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบการทำงานของทุกฝ่าย จึงทำให้เราต้องมาช่วยกัน Re-imagination นำไปสู่การ Reform การทำงานเพื่อปรับสู่ชีวิตวิถีใหม่แบบ New Normal

และอีกความท้าทายหนึ่งที่เกิดจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก็คือ มหาวิทยาลัยทั่วโลก ต่างต้องเผชิญกับวิกฤตในบริหารจัดการเรียนการสอนให้สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ จึงเป็นหนทางใหม่ ในการที่ทำให้สามารถทำงานในสภาพแวดล้อม ที่เป็น New Normal ได้ดีกว่า

แต่เมื่อการเรียนการสอนเป็นไปในรูปแบบออนไลน์ ก็จะไม่มีพรมแดนของการศึกษาอีกต่อไป ทุกมหาวิทยาลัยล้วนมีรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยกันทั้งสิ้น ความท้าทายนี้ ทำให้ มจธ. ต้องสร้างความแตกต่างเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในการที่จะให้นักศึกษา

เลือกเข้ามาศึกษาต่อกับ มจธ.


ปัจจัย และจุดแข็งที่ช่วยจะให้ มจธ. ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้

มจธ. ของเรา มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในการที่จะเป็น The best Science Technology and Innovation University in Thailand for Learning Innovation ใน 5 ปี ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2561 ตลอดระยะที่ผ่านมา มจธ. ได้อยู่บนเส้นทางที่พยายามที่จะจัดการให้เกิดการเรียนการสอนที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Education) ภายใต้กรอบนโยบายเดิม

ก็คือ KMUTT Educational Reform โดยการกำหนดกลยุทธ์‘KMUTT4Life’ คือ การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยให้สามารถเข้ามาศึกษา หาความรู้ได้ตลอดเวลา เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ พัฒนาทักษะให้สามารถนำไปเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และยกระดับศักยภาพในการทำงาน โดยมีแนวทาง

ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน คือ การเปลี่ยนการเรียนการสอนจากที่คุ้นเคยกัน อย่างการเรียนแบบรายวิชา (Subject-Based) และการเรียนเป็นภาคการศึกษา (Semester-Based) มาเป็นการเรียนการสอนแบบโมดูล (Module-Based) และไม่มีภาคการศึกษา (Non-Semester) และจากเดิมที่เคยทำการเรียนการสอน 1 วิชา 3 หน่วยกิต เป็นเวลา 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ในแต่ละโมดูลสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจบเป็นรายโมดูลที่ใช้เวลาน้อยลง รวมทั้งกลุ่มคนที่เข้ามาเรียนใน มจธ. ทั้งหมดจะเป็นใครก็ได้ที่ต้องการเข้ามาเรียนรู้ ซึ่งเราจะถือว่าเป็นนักศึกษาที่เป็นสมาชิกของ มจธ. (Member) ไม่จำเป็นต้องหมายถึงเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเท่านั้น เพียงแต่จะมีกติกาของนักศึกษาแต่ละประเภทที่แตกต่างกันออกไป โดยการเป็นสมาชิกในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้สังกัด หรือหลักสูตร เพราะเราเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เลือกเรียนในองค์ความรู้ หรือวิชาที่สนใจได้ และสามารถเก็บเป็น Credential และรวบรวมเพื่อจบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยได้เมื่อครบตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

อีกสิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยจะใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้ คือ การสร้างความแตกต่างในเรื่องของ Learning Innovation ก็คือ Work Integrated Learning (WIL) ในการสร้างประสบการณ์เรียนรู้ร่วมกับการทำงาน เพื่อฝึกทักษะ รู้จักกระบวนการ รู้จักประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานควบคู่กับการเรียนการสอน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่เราจะสร้าง Experience-Based Learning ให้กับนักศึกษา โดยใช้ระบบนิเวศ (Ecosystem) ใหม่ที่ทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้จากการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้องมี การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร (Networking) ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคสังคม และภาครัฐ ในการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษา มจธ. ของเราโดยใช้สถานที่ร่วมกันกับเครือข่ายพันธมิตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ จุดแข็งสำคัญของ มจธ. คือ บุคลากรทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน ปรับเปลี่ยนและพัฒนาการทำงานไปสู่ New Normal เพื่อรองรับ KMUTT4Life ได้ด้วยการรวมทีมทำงานข้ามหน่วยงาน (Cross Function) จากหลากหลายหน่วยงาน ซึ่งเราเรียกว่า Ant Team ที่ใช้โจทย์ตามเป้าหมายของ มจธ. ที่ใช้โจทย์เป็นตัวตั้ง เปรียบเหมือนมดที่สามารถขับเคลื่อนสิ่งที่ใหญ่กว่าตัวเองไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้