วิจัยและนวัตกรรม

วิจัยและนวัตกรรม

งานวิจัย

8 STRATEGIC RESEARCH THEMES

มจธ. มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีผลกระทบสูงต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นเลิศหนึ่งในกลยุทธ์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์วิจัย มจธ. คือ เน้นการวิจัยแบบรวมตัวกัน และใช้ความสามารถแบบสหสาขา เพื่อแก้ปัญหาและโจทย์วิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัย แบ่งยุทธศาสตร์วิจัยออกเป็น 8 ประเด็นหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจฐานชีวภาพ (Sustainable Bioeconomy), การเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital), การผลิตและการก่อสร้างที่ชาญฉลาด (Innovative materials, Manufacturing and Construction), บริการสุขภาพแบบชาญฉลาด (Smart Healthcare), การเดินทางและขนส่งที่ยั่งยืน (Sustainable Mobility), พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Energy and Environment), สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (Creative and Learning Society), การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน : บนฐานการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม (Inclusive and Sustainability Research)

Sustainable Bioeconomy (เศรษฐกิจฐานชีวภาพ)

SUB THEMES

Biofuels and Biorefinery | Bioresource Management and Utilization | Food for The Future | Sustainable Agriculture | Conservation ecology

เป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า “ตระกร้าอาหารแห่งเอเชีย” (Food Basket of Asia) “ครัวแห่งโลก” (Kitchen of the World) ประเทศไทยยังคงพึ่งในทรัพยากรอันอุดมทางธรรมชาติที่มี ว่าเป็นพื้นฐานความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมที่เข้าไปเพิ่มเติมคุณค่าให้กับทรัพยากรชีวภาพและผลิตผลที่ได้มาจากทรัพยากรเหล่านี้ช่วยทำให้ห่วงโซ่ภาคเกษตรกรรมทั้งหมดยั่งยืน ส่งผลให้เกิดประเด็นสำคัญ ๆ ในกลยุทธ์เชิงเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทย ที่ KMUTT นักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชาต่างก็ได้งัดความสามารถของตนออกมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรม (รวมถึงการผลิตชีวภาพ) เพื่อทำให้การเกษตรที่จะเกิดขึ้นในภายหน้ามีความแม่นยำและยั่งยืน เช่นเทคโนโลยีที่ช่วยหลังการเก็บเกี่ยว และอาหารแปรรูป นวัตกรรมเรื่อง “อาหารสำหรับอนาคต” (อาหารฟังก์ชั่น และโภชนเภสัช หรือ Nutraceuticals) การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ชีววัสดุ การผลิตชีวเคมี การเลี้ยงสัตว์ (ด้วยอาหาร) และวัคซีนสำหรับสัตว์ การพัฒนาและการผลิตชีวเภสัชภัณฑ์ และการรักษาและการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพที่ยั่งยืนซึ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรแบบยั่งยืน การเกษตรแม่นยำ (Precision farming) เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร อาหารสัตว์และ วัคซีนสัตว์อาหารเพื่อ อนาคต (เช่น อาหารสำหรับผู้สูงวัย) เชื้อเพลิง วัสดุและเคมีชีวภาพเทคโนโลยีสำหรับการ จัดการ และการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน (เช่น การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์) รวมทั้งการวิจัยและผลิตยาชีววัตถุ (biopharmaceuticals)


ที่ปรึกษา : ศ. ดร.วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด, รศ.บุษยา บุนนาค | boosya.bun@kmutt.ac.th

Champion : ผศ. ดร.บุณยพัต สุภานิช | bunyaphat.sup@kmutt.ac.th

Digital Transformation (การเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล)

SUB THEMES

Data Science for Business | AI and Robotics | Education Technology | Digital Health | Fundamental research for digital transformation

“เน้นการวิจัยพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยี AI และอุปกรณ์ดิจิทัล เพื่อรองรับต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ชุมชนและคุณภาพชีวิต ครอบคลุมทั้งคณิตศาสตร์ประยุกต์ และการคำนวณเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม (Computational Science and Engineering) เทคโนโลยีสารสนเทศ Internet of Things (IOT), Big Data Analytics รวมทั้งบริการและผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Services and Products)” โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาที่บูรณาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าหลากหลายสาขา เพื่อการวินิจฉัย บำบัด ฟื้นฟูและป้องกันโรค และบริการทางการแพทย์ (เช่น การผลิต ยาชีววัตถุโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานสากลการผลิตเซลล์ เพื่อเวชศาสตร์ ฟื้นฟู) รวมทั้งเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคประเภท Non-invasive (เช่น bio- imaging, biosensors และ molecular diagnostics เป็นต้น) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้พิการผู้สูงวัย และการพัฒนาทางสมองของเด็ก


ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.ประเสริฐ คันธมานนท์ | prasert.kan@kmutt.ac.th,
รศ. ดร.ธีรณี อจลากุล | tiranee.ach@kmutt.ac.th

Champion : รศ. ดร.สยาม เจริญเสียง | siam.cha@kmutt.ac.th

Innovative Materials, Manufacturing and Construction (การผลิตและการก่อสร้างที่ชาญฉลาด)

SUB THEMES

Advanced Materials, Design and Manufacturing | Smart Construction

“เน้นการวิจัยและพัฒนาวัสดุ การประยุกต์ใช้วัสดุและการขึ้นรูปวัสดุ (ทั้งโลหะ อโลหะ โพลิเมอร์และคอมโพสิท) เพื่ออุตสาหกรรมการผลิต (เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์) และการก่อสร้าง และในส่วนอื่นๆ (เช่น พลังงานและสิ่งแวดล้อม) การใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในการผลิตและการก่อสร้างตลอดจนการบริหารจัดการระบบและคุณภาพการผลิตและการก่อสร้าง”


ที่ปรึกษา : ศ. ดร.ชัย จาตุรพิทักษ์กุล | chai.jat@kmutt.ac.th

Champion : รศ. ดร.วิทูร อุทัยแสงสุข | vitoon.uth@kmutt.ac.th,
รศ. ดร.วีรชาติ ตั้งจิรภัทร | weerachart.tan@kmutt.ac.th

Smart Healthcare (บริการสุขภาพแบบชาญฉลาด)

SUB THEMES

Assistive Technology for the Aged, Disabled and Rehabilitation | Medical Diagnostics | Medical Treatment and Prevention | Logistics & Management

ด้วยฐานที่แข็งแกร่งในงานบริการด้านการแพทย์ คุณภาพในการใส่ใจเรื่องสุขภาพ และเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ ทำให้ประเทศไทยได้รับการตั้งให้เป็น “ศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย” (the medical hub of Asia) เพื่อตอบรับกลยุทธ์แห่งวิสัยทัศน์ “ไทยแลนด์ 4.0” เรื่อง การส่งเสริมและการบริการด้านสุขภาพ (wellness and medical services) การเติบโตทางด้านนี้ส่งผลให้ประเทศไทยพัฒนาด้านการแพทย์และชีวการแพทย์ การตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจแลบ และคลีนิกการวิจัยและพัฒนาให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น นักวิจัยที่ KMUTT ล้วนเป็นผู้มีพื้นฐานความรู้ตั้งแต่ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (biological science) และวิศวกรรม (engineering) ชีวเคมี(biochemistry) และวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ (biochemical process engineering) ไปจนถึงความรู้ในเรื่อง วัสดุนาโน (nano-materials) ชีวสารสนเทศศาสตร์ หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (bioinformatics) วิทยาการหุ่นยนต์ (robotics) และ การจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Big data มาทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังเรายังมีบุคลากรมืออาชีพด้านสุขภาพภายนอก KMUTT อีกหลายท่านมาทำงานวิจัยร่วมกันเสมอ หรือที่เรียกว่า งานวิจัยแบบสหวิทยา (interdisciplinary research) โดยงานวิจัยจะครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  1. การใช้งานหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (medical robotics) และเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก (assistive/rehabilitation technology) แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค (medical diagnostics) เช่น การวิเคราะห์ระดับโมเลกุล (Molecular diagnostics) ภาพชีวภาพและการวิเคราะห์ (bio-imaging and analysis)) และ ชีวสารสนเทศศาสตร์ (bioinformatics)
  3. การผลิตยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceutical production) และการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ในหลอดทดลอง (cell culture) เพื่อใช้เป็นยาฟื้นฟูหรือซ่อมแซมเซลล์ และ
  4. วัสดุฉลาด (smart materials) เพื่อการใช้งานทางด้านชีวการแพทย์ (biomedical applications)

โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาที่บูรณาการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าหลากหลายสาขา เพื่อการวินิจฉัย บำบัด ฟื้นฟูและป้องกันโรค และบริการทางการแพทย์ (เช่น การผลิต ยาชีววัตถุโดยโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานสากลการผลิตเซลล์ เพื่อเวชศาสตร์ ฟื้นฟู) รวมทั้งเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคประเภท Non-invasive (เช่น bio-imaging, biosensors และ molecular diagnostics เป็นต้น) รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือผู้พิการผู้สูงวัย และการพัฒนาทางสมองของเด็ก


ที่ปรึกษา : รศ. ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน | sakarindr.bhu@kmutt.ac.th

Champion : ผศ. ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง | supachai.von@kmutt.ac.th,
รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ | anak.kha@kmutt.ac.th

Sustainable Mobility (การเดินทางและขนส่งที่ยั่งยืน)

SUB THEMES

Next Generation Aerial Vehicle | Next Generation Vehicle | Rail System | Supply Chain Management | Transport Policy and Planning

“เน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการวิจัยนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายให้ใช้พลังงานน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ครอบคลุมเทคโนโลยียานยนต์คาร์บอนต่ำโดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีระบบราง ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System) การจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ และความปลอดภัยด้านการขนส่ง รวมทั้งนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง”


ที่ปรึกษา : ศ. ดร.สำเริง จักรใจ | sumrueng.jug@kmutt.ac.th

Champion : รศ. ดร.ยศพงษ์ ลออนวล | yossapong.lao@kmutt.ac.th

Sustainable Energy and Environment (พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน)

SUB THEMES

Earth System and Climate Change | Energy Efficiency | Energy System Integration | Energy and Environmental Policy | Sustainable Environmental Technology and Management

“เน้นการวิจัยและพัฒนาใน 4 ด้านหลัก ได้แก่

  1. พลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะการใช้ชีวมวลเพื่อผลิตความร้อนและไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และระบบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง (เช่น ระบบโครงข่ายไฟฟ้าขนาดจิ๋ว (Micro Grid) และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ตลอดจนระบบอุปกรณ์กักเก็บพลังงาน (Energy Storage))
  2. เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยเฉพาะในภาคอาคาร ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
  3. เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ทั้งด้านคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศและการกำจัดขยะชุมชน และ
  4. เทคโนโลยีเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยเฉพาะด้านการจำลองภูมิอากาศ การจัดการน้ำ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคเกษตรและป่าไม้ เป็นต้น รวมทั้งการวิจัยเชิงนโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม”

ที่ปรึกษา : รศ. ดร.บัณฑิต ฟุ้งธรรมสาร | bundit.fun@kmutt.ac.th

Champion : ผศ. ดร.กูสกานา กูบาฮา | kuskana.kub@kmutt.ac.th,
ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ | navadol.lao@kmutt.ac.th

Creative and Learning Society (สังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์)

SUB THEMES

Art and Design Innovation | Community Development and Management | Future Learning | Future Society

“เน้นการวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (Learning) ใหม่ๆ ด้านศิลปะและนวัตกรรมการออกแบบ เพื่อมุ่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ เพื่อกระบวนการเรียนรู้สำหรับอนาคต (Future Learning) และวิถีชีวิต และสังคมแห่งอนาคต (Future Society) รวมทั้งการพัฒนาและการจัดการชุมชน และการสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่มบนฐานของนวัตกรรม และการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีกับศิลปะและการออกแบบ”


ที่ปรึกษา : ผศ. ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ | sasitorn.suw@kmutt.ac.th

Champion : ผศ. ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ | krittika.tan@kmutt.ac.th,
รศ. ดร.ชูจิต ตรีรัตนพันธ์ | chujit.jea@kmutt.ac.th

Inclusive and Sustainability Research (การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน : บนฐานการพัฒนาเชิงพื้นที่และสร้างผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม)

SUB THEMES

Area-based and Fundamental Research | Capacity building and adaptation | Inclusive research and innovation | Sustainability and well-being community

มุ่งเน้นการสร้างงานวิจัยที่เป็นเลิศและสัมพันธ์กับโจทย์ที่แท้จริงของสังคม (Relevance Excellences) และพัฒนาเทคโนโลยี-นวัตกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และยั่งยืน ครอบคลุมทั้งงานวิจัยพื้นฐานที่จะสนับสนุนในการแก้โจทย์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ (Area-based and Fundamental Research) งานวิจัยที่มีความพร้อมในการนำไปใช้แก้โจทย์ปัญหาในแต่ละพื้นที่ (Capacity building and adaptation) งานวิจัยที่สร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ (Inclusive research and innovation) และงานวิจัยที่ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือการสร้างต้นแบบเพื่อแก้ปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความรู้ และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้จริง (Sustainability and well-being community) สนับสนุนงานด้านพลังงาน วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาระบบเกษตร (3E4A - Energy, Engineering and Environment for Agriculture) การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและการฟื้นฟูระบบนิเวศ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร การสร้างพื้นที่และเมืองสร้างสรรค์ และการพัฒนาสมรรถนะของคนในพื้นที่เพื่อการมีส่วนร่วมและพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น จากการดำเนินการวิจัยดังกล่าว ทำให้ มจธ. เข้าใจโจทย์และความต้องการพัฒนาของชุมชนและพื้นที่ทำงานเป็นอย่างดี เข้าใจบริบทและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการพัฒนาจากฐานสู่ยอด ลดความเหลื่อมลํ้า และสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งสามารถพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยคุณภาพสูงแต่สัมพันธ์เชื่อมโยงและมีความโดดเด่นได้ (Relevance Excellences) และมีความเป็นจริงได้ ที่จะพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรมที่ครอบคลุมทั่วถึง (Inclusive Innovation)


ที่ปรึกษา : คุณสุเมธ ท่านเจริญ | sumate.tan@kmutt.ac.th

Champion: คุณศุเรนทร์ ฐปนางกูร | surain.tha@kmutt.ac.th,
คุณบวรศักดิ์ เพชรานนท์ | bavornsak.pej@kmutt.ac.th,
ดร.เอกณัฏฐ์ กระจ่างธิมาพร | eakanut.kar@kmutt.ac.th


Research News VIEW All


ARE YOU LOOKING FOR ?

สำนักงานวิจัย นวัตกรรมและพันธมิตร

อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 7 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

126 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ 10140

เปิดทำการวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 น. – 16.30 น.

Top