“We don’t just learn, we experience.” มากกว่าการเรียนการสอน แต่คือการได้รับประสบการณ์พิเศษ

ปรางฟ้า ธีระกิจฐ์ สีทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดีย ผู้ประพันธ์บทภาพยนตร์เรื่อง GIVE AWAY “ของขวัญเพียงหนึ่งเดียว” จะมาแชร์ประสบการณ์การทำหนังสั้นแบบเรียลๆ ให้ได้ฟังกัน





หนังสั้นของเราเป็นผลงานกลุ่มไฟนอลในรายวิชา MMD334 ซึ่งนักศึกษามีเดียแพทย์ชั้นปีที่ 3 ทุกคนจะต้องได้ผ่านการทำหนังสั้นทั้งหมด และในช่วงสุดท้ายของเทอมก็จะมีการจัดเทศกาลมีเดียแพทย์เล่า ก็คือการให้แต่ละกลุ่มนำผลงานมาโชว์ในโรงภาพยนตร์จริงที่วิทยาเขตบางขุนเทียน

สำหรับปรางฟ้าได้รับหน้าที่หลายอย่างทั้งทำโปสเตอร์ รวมถึงเกี่ยวกับการทำฟอนต์ต่างๆ แต่หน้าที่สำคัญที่สุดคือ การได้โอกาสเป็นผู้ประพันธ์บทภาพยนตร์เรื่องนี้ค่ะ มีทั้งความท้าทายและมีความภาคภูมิใจกับบทภาพยนตร์นี้มาก บทภาพยนตร์เรื่องนี้เราสร้างมาจากความเชื่อ ความรัก และความศรัทธาในตัวเอง เราจึงทุ่มเททั้งวิญญาณให้กับบทภาพยนตร์เรื่องนี้ 

แต่ถ้าถามว่าอะไรคือความประทับใจ สำหรับนี่ สิ่งที่ประทับที่สุดสำหรับการทำหนังคือ การได้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนๆ ในทีม อย่างช่วงเวลาการตัดหนัง เพราะว่าช่วงนั้นทุกคนในทีมจะต้องมาช่วยกันตัดหนังที่ห้องด้วยกัน ความรู้สึกเหมือนได้ไปเข้าค่ายที่จะต้องกินนอนอยู่ด้วยกัน แม้กระทั่งตอนมีปัญหาเกี่ยวกับหนังเราก็ช่วยกันนั่งคิดในห้อง ทำให้รู้ว่าต่อให้มีปัญหาก็ยังมีเพื่อนอยู่ด้วยกันตรงนี้

 โดยในแต่ละปีการจัดเทศกาลมีเดียแพทย์เล่าหนังเราก็จะมี Concept หรือ ตรีมที่แตกต่างกันไปในปีนั้น โดยในปีนี้เราได้มีโอกาสจัดในช่วงการเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ พวกเราจึงอยากจะมอบของขวัญเพียงหนึ่งเดียวที่แสนวิเศษในทุกคนก่อนที่จะปิดภาคเรียนและเพื่อต้อนรับสู่เทศกาลปีใหม่ สาเหตุนี้เองจึงทำให้เราดึงคำว่า ของขวัญเพียงหนึ่งเดียว มาเป็น Concept หลักในปีนี้ โดยแต่ละกลุ่มแต่ละทีมก็จะต้องไปตีความหรือนิยามคำว่า ของขวัญ ในฉบับของตัวเอง ว่าได้อย่างไร

 ในฐานะของคนที่ภาพยนตร์นะคะ โดยปกติการทำภาพยนตร์เราจะแบ่งขั้นตอนการทำงานเป็นทั้งหมด 3 ส่วน คือ Pre-Production, Production และ Post-Production อาจารย์จะแจ้งงานให้พวกเราตั้งแต่เปิดเทอมโดยให้เราเลือกตรีมในปีนั้นเอง จนเราได้คือ ของขวัญเพียงหนึ่งเดียว หลังจากทุกคนก็จะต้องไปความหมายของตรีมและก็จะเริ่มเข้าสู่ช่วง Pre-Production นั้นคือการเตรียมตัวงานก่อนจะเริ่มถ่ายโดยทีมของเราจะเริ่มจากการเขียนบทภาพยนตร์ก่อนและปรับกับอาจารย์เจ้าของวิชานี้ แล้วจะถึงขั้นตอนการตามหานักแสดงตาม Character ที่จะรับบทต่างๆในภาพยนตร์สั้นของเรา เมื่อเราได้นักแสดงเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นช่วงของการเตรียมเครื่องมือการถ่ายทำต่างๆ ตั้งแต่กล้องถ่ายไปจนถึงเครื่องแต่งกายของนักแสดง รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบฉากอีกด้วย และต่อมาเป็น Production หรือช่วงการถ่ายทำ ถือว่าเป็นช่วงที่ค่อยข้างใช้เวลานานเนื่องจากนักแสดงบ้างคนว่างไม่ตรงกันบ้าง สถานที่ไม่พร้อมบ้าง ทำให้พวกเราต้องแก้ไขเวลาเฉพาะหน้าทำให้การถ่ายทำค่อยข้างใช้เวลานานและล่าช้า และขั้นตอนสุดท้ายคือ Post-Production คือช่วงของการตัดต่อภาพยนตร์ ทำทีเช่อและการเตรียมโปรเตอร์โปรโมท ก็นับได้ว่าเป็นช่วงที่สำคัญเลย ภาพยนตร์จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กันคนตัดต่อล้วนแล้วทั้งสิ้น

สำหรับสิ่งที่ทีมเราคิดว่าเป็นอุปสรรคที่ใหญ่เลยคือเรื่องงบประมาณเพราะทางสาขาของเราไม่ได้มีงบประมาณในการทำหนังให้เลย ดังนั้นงบการถ่ายทั้งหมดจึงมาจากการรวบรวมเงินของคนภายในทีม และเพื่อนในทีมบางคน เช่น ตัวพี่ก็ไม่ได้มีงบประมาณมากที่จะสามารถนำเงินมาลงกับตรงนี้ได้มากนัก ทำให้การถ่ายหนังของเราก็อาจจะไม่ได้ผลงานอย่างที่ควร เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณ ยกตัวอย่าง แพลนในบทภาพยนตร์มีการถ่ายที่สนามบินสุวรรณภูมิ ถ่ายที่ต่างจังหวัด ก็เป็นอันต้องยกเลิก เหตุจากการใช้งบประมาณค่อยข้างสูง จุดนี้ก็ทำให้พวกเราแอบเสียดายภาพบรรยายกาศตรงนั้นที่ควรจะทำมาถ่ายทอดลงภายในภาพยนตร์ ก็เลยทำให้พวกเราต้องมีการตัดบางฉากที่ต้องใช้งบประมาณออกไป เพื่อไปลงทุนอย่างอื่นแทน

มาทำความรู้จักกับสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ โครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาตส์และเทคโนโลยีมีเดียกันค่ะ

สาขาของเรา เป็นหลักสูตรที่มีการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านศิลปะ ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยี ศาสตร์ทางด้านนิเทศศาสตร์ และศาสตร์ทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เรียนทั้งการออกแบบสื่อด้านต่างๆ เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย วิดีทัศน์ หุ่นจำลอง การออกแบบกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ สามารถผลิตผลงานสื่อในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ จุดเด่นของเราคือ เป็นสาขาที่อยู่ตรงกลางระหว่างคำว่า ศาสตร์กับศิลปะ ที่จะได้ทั้งแบบวิชาการและงานศิลปะ รวมถึงได้เรียนการออกแบบเพื่อการทำงานภายในโรงพยาบาลโดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศไทยสาขาแนวนี้มีแค่ไม่กี่ที่ นี้จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมสาขาของเราจึงมีความแตกต่างคณะเกี่ยวกับการออกแบบที่อื่นๆ

ภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นมาจากมีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

คำว่า มีเดียแพทย์ มจธ. ค่ะ จริง ๆ อยู่ว่ามีเดียแพทย์ของเราทุกคนมาจากหลายทิศทาง แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในคณะนี้ สังคมมันหล่อหลอมเรา ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของผู้กำกับถูกถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานภาพยนตร์ ทั้งจิตวิญญาณของมีเดียแพทย์ถูกนำมาสวมใส่ภายใต้หนังสั้นเรื่องหนึ่ง นี้จึงเป็นสาเหตุทำไมเราหนังสั้นของเราจึงมีจุดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น

มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สำหรับปรางฟ้า ให้ทั้งมิตรภาพ ให้ทั้งโอกาส

อย่างแรก คือการให้มิตรภาพ พอพูดถึงคำว่ามิตรภาพ คงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ให้มิตรภาพอะไร ? ในปีสอง ปรางฟ้าเคยไปสอบอีกที่เพื่อจะเตรียมตัวซิ่ว และเราก็ติดมหาวิทยาลัยที่หนึ่งแถวท่าพระจันทร์ แต่สุดท้ายปรางฟ้าก็ตัดสินใจไม่ไป เพราะเราเคยสัญญากับเพื่อนคนหนึ่งไว้ว่า กูจะอยู่รอทำหนังกับพวกมึง ทำให้ปรางฟ้ารู้ว่าเราทิ้งเขาไม่ได้ ความรู้สึกผูกพันธ์กับมิตรภาพ เพื่อนที่ต้อนรับเรา เพื่อนที่คอยช่วยเหลือเราตั้งแต่วันปีหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ถ้าวันนั้นเราเลือกซิ่ว วันนี้ก็อาจจะไม่มีปรางฟ้าที่เป็นบทประพันธ์ภาพยนตร์เรื่อง GIVE AWAY ก็ได้

ส่วนที่สอง คือ โอกาส โอกาสเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เราจะทำอะไรไม่สำเร็จเลย ถ้าขาดคำว่าโอกาส ก่อนหน้านี้เราเป็นคนที่วาดรูปไม่สวย ปั้นไม่เป็น พอเราได้มาเรียนสาขานี้ เราได้มีโอกาสในความสามารถของเรามากขึ้นจากสิ่งที่คิดว่าอาจจะทำไม่ได้ ปรากฎว่าวันนี้มันคือความสำเร็จ ถ้าวันนั้นปรางฟ้าเหลือทิ้งโอกาสการเรียนคณะนี้ไป เราก็อาจจะกลายเป็นคนที่เข้าใจว่าตัวเองวาดรูปไม่สวยอีกตลอดกาลเลยก็ได้ คณะนี้ให้อะไรกับเราได้เยอะมาก จนบางทีมันไม่ใช่ คำว่าสถานที่ศึกษาหรือคำว่าคณะ แต่มันคือคำว่าครอบครัวสำหรับเราแค่นั้น


สำหรับคนที่สนใจในสาขานี้ พี่อยากให้ทุกคนพยายามเก็บผลงานการออกแบบเอาไว้เยอะๆ ฝึกวาดภาพบ่อยๆ แต่สำคัญที่สุดคือ ขอแค่คุณมีความเชื่อมั่นในตัวเอง ความรักในงานสื่อการออกแบบ ปรางฟ้าพูดเลยค่ะ ว่าตอนเข้ามาเราเริ่มจากศูนย์จนวันนี้เราได้เรียนรู้และเข้าใจอะไรอีกมากมาย เพียงแค่เรามีความเชื่อมั่นในตัวเองว่าเราทำได้ พี่ขอเป็นแรงบันดาลใจว่า ถ้าคนธรรมดาอย่างพี่ทำได้ พวกคุณทุกคนก็ทำได้เช่นกัน

ขอบคุณค่ะ