การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิภายในปี ค.ศ. 2040

มจธ. ประกาศเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยในการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2040 และเริ่มดำเนินการ ติดตาม และ ประเมินผล การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดย ชาว มจธ. จะร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดัน Carbon Neutrality ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารและการเดินทาง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการปลูกป่าเพื่อดูดกลับคาร์บอน ซึ่งเป็นตอบรับนโยบายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกันโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย สืบเนื่องจากการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาปารีส ร่วมกับประเทศสมาชิก 179 ประเทศ ในปี 2559 และล่าสุดประเทศไทยโดยนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมระดับผู้นำสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ในการยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065

มจธ. เดินหน้านโยบายลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ตั้งเป้าภายในปี 2040

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสถาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ที่กำลังส่งผลกระทบต่อมุษยชาติและโลก ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในทุกๆปีนั้น เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า สถานกาณณ์ต่างๆกำลังใกล้ถึงจุดอันตราย โดยที่หากไม่เริ่มต้นในการหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็จะเป็นการยากที่จะทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติได้ดังเดิม ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ได้ลงสัตยาบันในสนธิสัญญาปารีส ว่าด้วยการร่วมแก้ไขปัญหาจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ก็ได้ตอบรับนโยบายดังกล่าว โดยประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065  

มจธ. ในฐานะสถาบันการศึกษาก็ได้ตอบรับนโยบายการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศเช่นกัน โดย มจธ. ตั้งเป้าดำเนินการภายในปี ค.ศ. 2040 โดยนักศึกษาและบุคลากรรวมถึงพนักงานหรือหน่วยงานต่างๆ ที่มีการดำเนินกิจกรรมกับทาง มจธ. จะร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ด้วยการเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารและการเดินทาง การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอน ซึ่งมจธ. จะบูรณาการร่วมกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา มจธ. ที่ยั่งยืน ดังที่มจธ. ได้ดำเนินการอย่างจริงจังมาโดยตลอดใน 5 ด้าน คือ

  1. การสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา (Increasing the Student Engagement) 
  2. การสร้างผลกระทบเชิงบวกจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม (Demonstrating the Impact of Research and Innovation)  
  3. การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Encouraging the Community Engagement)  
  4. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Building Green Infrastructure & Environment) และ  
  5. การสร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน (Creating a Sustainable  Management System)  

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการประกาศเจตนารมณ์ในการดำเนินการเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นี้ คือ การลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนสามารถเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและร่วมกันลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเหล่านั้นได้ และ มจธ. พร้อมที่จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับสากลในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในระดับองค์กรและทุกพื้นที่การศึกษา

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ มจธ. และการมีส่วนร่วมที่สำคัญเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก คือ การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของ มจธ. ภายในปี พ.ศ. 2583 (KMUTT Carbon Neutrality 2040) ตามประกาศเจตนารมณ์ของ มจธ. เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564  

ในปี 2562 (ปีฐาน) พบว่า มจธ. ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (เทียบเท่า) 16,720 ตัน จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางตรงทางอ้อมทั้ง 4 พื้นที่การศึกษา ได้แก่ ประชาอุทิศ บางขุนเทียน ราชบุรี และอาคารเคเอกซ์ โดยสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดมาจากไฟฟ้าหรือเท่ากับ 94% ของการปล่อยทั้งหมด มจธ. จึงได้จัดทำแผนดำเนินการมาตรการหลักในการลดคาร์บอนเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2583 อันได้แก่  

  • การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน (Energy efficiency) ในอาคารที่มีอยู่โดยการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้า การพัฒนาอาคารอัจฉริยะที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานจนนำไปสู่อาคารที่ใช้พลังงานเป็นศูนย์ (Net Zero Energy Buildings) การพัฒนาระบบ District Cooling และ การดำเนินโครงการ So Cool เพื่อลดอุณหภูมิภายในมหาวิทยาลัย 1-2 องศาเซลเซียส  
  • การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) โดยการติดตั้ง Solar PV บนหลังคาของทุกอาคารที่มีศักยภาพใน มจธ.   
  • การเปลี่ยนรถยนต์และรถรับส่งของมหาวิทยาลัยเป็นยานยนต์ไฟฟ้า 
  • การจัดทำโครงการ zero waste เพื่อลดปริมาณขยะที่ส่งไปกำจัด โดยผ่านมาตรการลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว และมาตรการ 3R การผลิต Refuse derived fuel (RDF) จากขยะ และการประยุกต์แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้ลดขยะเป็นศูนย์ 

ด้วยการดำเนินการมาตรการต่างๆเหล่านี้คาดว่าในปี พ.ศ. 2583 มจธ. จะสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 30% ของการปล่อย ณ ปีฐาน โดยมาจากมาตรการ Energy efficiency และ Renewable energy เป็นหลัก และนอกจากมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว มจธ.ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าของ มจธ. ราชบุรี และการปลูกป่าโกงกางพื้นที่มากกว่า 130 ไร่ เพื่อดูดกลับคาร์บอน ทำให้ มจธ.สามารถบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2583 ตามแผน 

ประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับการยอมรับเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับสากลอีกด้วย  

มจธ. มีความเป็นเลิศทั้งในด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการวิจัย และยังมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้และส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว และปฏิบัติหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านระบบการจัดการพลังงาน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ที่จะสามารถส่งเสริมการพัฒนาความยั่งยืนในมหาวิทยาลัยของเราและขยายไปสู่ชุมชนรอบข้าง และสังคมในวงกว้าง เพื่อให้เราทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  

มหาวิทยาลัยมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำหน้าที่เป็นผู้นำเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกิจกรรมทั้งหมดโดยอาศัยการดำเนินงาน การสอน และการวิจัย แผนกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของมจธ. สำหรับปีงบประมาณ 2553-2563 – แผนกลยุทธ์ปี 2559-2563 ได้มีการแก้ไขใหม่โดยมีพื้นฐานและข้อมูลมาจากความสำเร็จของการทำแผนพัฒนาเมื่อห้าปีแรกของกลยุทธ์นี้ โดยแผนกลยุทธ์ฉบับแก้ไขนี้มุ่งไปที่ประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยความพยายามเพิ่มมากขึ้นทั้งทางด้านความปลอดภัย การติดตั้ง และการใช้อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ภายในมหาวิทยาลัย เป้าหมายของแผนกลยุทธ์การพัฒนาที่ยั่งยืนของมจธ.  

สำหรับปีงบประมาณ 2553-2563 แผนกลยุทธ์ฉบับแก้ไขนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยมีหัวใจสีเขียว และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ที่มุ่งเน้นไปการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกใน มจธ. แผนกลยุทธ์ฉบับแก้ไขนี้เน้นไปที่ องค์ประกอบหลักๆ  6+1 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้านของเสีย ด้านน้ำ ด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านการศึกษาและการเรียนรู้ และด้านความปลอดภัย 

“ในปี พ.ศ. 2561 มจธ. ให้การส่งเสริมกิจกรรมสีเขียวเพื่อความยั่งยืนโดยใช้เป้าหมายกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนกับบุคคล จำนวน 20,137 คน ซึ่งประกอบไปด้วยนักศึกษา จำนวน 16,936 คน และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนของมหาวิทยาลัย จำนวน 3,201 คน ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดไว้โดยนำเอาแนวคิดด้านการเข้าร่วมมาใช้” 

พื้นที่การศึกษาของ มจธ.  

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มี 4 พื้นที่การศึกษา ซึ่งมีพื้นที่รวมแล้ว 2,556,192.00 ตารางเมตร ประกอบด้วย 

+ มจธ. บางมด 227,560 ตารางเมตร 

+ มจธ. บางขุนเทียน  538,376.00 ตารางเมตร 

+ มจธ. ราชบุรี  1,787.200 ตารางเมตร 

+ มจธ. (อาคารเคเอกซ์) 3,056.00 ตารางเมตร 

  • การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและสภาพอากาศ 

การดำเนินงานเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและสภาพอากาศของ มจธ. จะมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมต่างๆ ที่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 7 – พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเป้าหมายที่ 13 -  การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของ SDGs 2030 เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานที่มีราคาไม่สูงนัก เชื่อถือได้ ยั่งยืน และเป็นพลังงานรุ่นใหม่ มจธ. ให้ความสนใจกับปัญหาด้านการใช้พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และได้จัดทำนโยบายว่าด้วยเรื่องของการลดการใช้พลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน การก่อสร้างอาคารอัจฉริยะ/อาคารสีเขียว การใช้พลังงานไฟฟ้าโดยรวม โครงการอนุรักษ์พลังงาน โครงการปรับเปลี่ยนและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นอกจากนั้น มจธ. ยังมีแผนที่จะส่งเสริมการวิจัยและเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด รวมทั้งเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีขั้นสูง และเทคโนโลยีที่ใช้ฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีความสะอาดมากกว่า ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด 

  • การจัดการสิ่งปฏิกูล 

การจัดการขยะถือเป็นเป้าหมายด้านหนึ่งที่มีความสำคัญในแผนดำเนินงาน SDGs 2030 โดยเฉพาะเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในเรื่องของเมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน (SDG 11) การบริโภคและการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 12) และการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) ดังรายละเอียดต่อไปนี้  

SDG 11.6 – ในปี 2573 จะต้องลดผลกระทบด้านลบที่เกิดจากผลกระทบของชุมชนเมืองที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะรวมถึงการให้ความใส่ใจเป็นกรณีพิเศษต่อคุณภาพของอากาศรวมทั้งการจัดการขยะชุมชนและขยะประเภทอื่น  

SDG 12.4 – ในปี 2563 จะต้องประสบความสำเร็จในเรื่องของการบริหารจัดการในเชิงสิ่งแวดล้อมทั้งในเรื่องของขยะเคมีและขยะทุกประเภทตลอดวัฏจักรชีวิต โดยเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระหว่างประเทศที่ได้รับความเห็นชอบ อีกทั้งยังต้องลดการปะปนของขยะดังกล่าวในอากาศ น้ำ และดิน เพื่อที่จะลดผลกระทบในเชิงลบที่มีต่อสุขภาพของผู้คนและสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด  

SDG 12.5 – ในปี 2573 จะต้องลดการสร้างขยะได้อย่างเป็นที่ประจักษ์ด้วยการป้องกัน การลดจำนวน การนำขยะกลับมาแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ และการนำขยะกลับมาใช้ซ้ำ  

SDG 14.1 – ในปี 2568 จะต้องสามารถป้องกันและลดมลภาวะทุกประเภทในแม่น้ำได้อย่างเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการบนพื้นดิน ซึ่งจะรวมถึงขยะในแม่น้ำและมลภาวะที่เกิดจากธาตุอาหารพืช  

การพัฒนาระบบการจัดการขยะที่ครบวงจรรวมทั้งเศรษฐกิจหมุนเวียนถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (SDG 8) และการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG 13) 

ขยะ 

ขยะเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมระดับชาติอีกปัญหาหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม มจธ. เป็นสถาบันการศึกษาอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญจากขยะที่เป็นพิษและขยะชุมชนจึงได้พยายามที่จะลดผลกระทบดังกล่าวช่วยประหยัดทรัพยากรและต้นทุนของมหาวิทยาลัยให้มากที่สุด ดังนั้น ระบบการบริหารจัดการขยะของมจธ. จะมุ่งเน้นไปที่ขยะอันตราย ขยะชุมชน น้ำเสีย  

ระบบการจัดการขยะอันตรายในมจธ. 

โดยส่วนใหญ่แล้วขยะอันตรายในมจธ. มาจากขยะในห้องปฏิบัติการทดลอง  การดำเนินงานในห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อการศึกษาและการวิจัยกิจกรรมหลักขยะอันตรายใน มจธ. การกำจัดขยะอันตรายโดยใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสมถือเป็นปัญหาระดับชาติซึ่งสร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมและสร้างอันตรายให้กับสิ่งมีชีวิตรวมทั้งมนุษย์ ดังนั้นจึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการขยะอันตรายขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย  

ระบบการจัดการขยะชุมชนในมจธ. 

ขยะชุมชนถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกพื้นที่ในประเทศไทยจะต้องประสบซึ่งจะรวมถึงสถาบันการศึกษา การเพิ่มขึ้นของขยะชุมชนในแต่ละปีนำมาสู่ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มจธ. ถือเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้รับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ซึ่งจะรวมถึงขยะชุมชนจึงพยายามที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ด้วยการจัดการขยะอันตรายและขยะชุมชนซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด  

ระบบจัดการน้ำเสียในมจธ. 

การจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากอาคารวิจัย อาคารเรียน และบ่อน้ำธรรมชาติจำเป็นที่จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับในการระบายน้ำเสียเพื่อที่จะตรวจสอบคุณภาพของน้ำเป็นประจำทุกเดือนและทำการบำบัดก่อนที่จะระบายลงสู่ท่อน้ำสาธารณะผ่านทางโรงบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครที่อยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย สำหรับในส่วนของการตรวจสอบคุณภาพน้ำ น้ำที่ปล่อยออกมาจากโรงบำบัดน้ำเสียในแต่ละอาคารก็จะได้รับการตรวจวิเคราะห์เป็นประจำทุกเดือนโดยทีมงานของนักศึกษา

  • การบริหารจัดการน้ำ 

น้ำและ SDG 2030 

+  หลายต่อหลายคนยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งน้ำและสถานสุขาภิบาลที่ได้รับการบริหารจัดการอย่างปลอดภัย การขาดแคลนน้ำ การเกิดอุทกภัย และการขาดซึ่งการบริหารจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำและการพัฒนาปรับปรุงการจัดการน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างสมดุลให้กับอุปสงค์ของน้ำที่มีการแข่งขันกันและกำลังเพิ่มมากขึ้นจากหลายภาคส่วนและผู้ใช้งานหลายราย ในปี 2560 ถึง 2561 ข้อมูลจาก 157 ประเทศระบุว่ามีการนำเอาการบริหารจัดการแหล่งน้ำแบบบูรณาการมาใช้แค่เพียงร้อยละ 48 เท่านั้น  

+ เมื่อพิจารณาจากข้อมูลใน 62 ประเทศจากทั้งหมด 153 ประเทศที่มีการใช้แหล่งน้ำร่วมกัน อัตราของแหล่งน้ำที่มีการใช้งานร่วมกันซึ่งอยู่ภายใต้การจัดการด้านปฏิบัติการในปี 2560 มีเพียงร้อยละ 59  

ที่มา – รายงานจากเลขาธิการ รายงานเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนประจำปี 2561  

นโยบายการอนุรักษ์น้ำของมจธ. 

1. ลดการใช้น้ำประปาลงร้อยละ 30 ในปี 2573 เมื่อเทียบกับอัตราการใช้น้ำในปี 2549  

2. เพิ่มการใช้น้ำฝน/การใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติขึ้นร้อยละ 20 ในปี 2563  

3. จัดทำโครงการการแปรรูปน้ำเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีสุขอนามัยและการใช้น้ำร้อยละ 50 ในอาคารใหม่นับตั้งแต่ปี 2548  

4. บรรลุเป้าหมายเรื่องน้ำดื่มปลอดภัยและน้ำเสียกลายเป็นน้ำสะอาดในมหาวิทยาลัยในปี 2560

  • การคมนาคมขนส่ง 

ถึงแม้ว่าการคมนาคมอย่างยั่งยืนแบบนี้ได้ถูกบรรจุเป็นอีกหัวข้อหนึ่งในแผน SDGs 2030 หากแต่เป้าหมายในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญต่อวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่นำมาใช้ในหัวข้อแผน SDG ที่นำเสนอ โดยเฉพาะในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร สุขภาพ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน เมือง และมนุษย์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทั้งนี้ บริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะบรรลุเป้าหมายตามแผน SDG ส่วนใหญ่ แม้จะไม่ครอบคลุมทั้งหมดก็ตาม ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้  

เป้าหมาย SDG ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม 

แผนงาน 2030 ได้ระบุว่าระบบการคมนาคมที่ยั่งยืน รวมทั้งการเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มีต้นทุนที่เหมาะสม เชื่อถือได้ ยั่งยืน และเป็นพลังงานรุ่นใหม่ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนได้ และนโยบายอื่นๆ ที่เป็นตัวเพิ่มความสามารถในการผลิต จะช่วยสร้างรากฐานด้านเศรษฐกิจที่แข็งแรงให้กับทุกประเทศ รายละเอียดได้ระบุถึงเป้าหมาย 5 ประการซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาคส่วนการคมนาคมโดยตรง รวมทั้งเป้าหมายอีก 7 ประการที่มีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับภาคส่วนการคมนาคม  

การคมนาคมจะมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมาย 5 ประการในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน (เป้าหมายที่ 3.6) การประหยัดพลังงาน (เป้าหมายที่ 7.3) โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 9.1) การเข้าถึงชุมชนเมือง (เป้าหมายที่ 11.2) และการส่งเสริมด้านเชื้อเพลิงจากเศษซากดึกดำบรรพ์ (เป้าหมายที่ 12) ที่มีการเน้นย้ำว่าการคมนาคมที่ยั่งยืนไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์ในด้านนั้นแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่จะมีความสำคัญในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามแผน SDG อีกเป็นจำนวนมาก  

การคมนาคมยังมีส่วนสัมพันธ์ทางอ้อมกับเป้าหมาย SDG 7 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (เป้าหมายที่ 2.3) มลภาวะทางอากาศ (เป้าหมายที่ 3.9) การเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย (เป้าหมายที่ 6.1) เมืองแห่งความยั่งยืน (เป้าหมายที่ 11.6) การลดความสูญเสียในเรื่องของอาหาร (เป้าหมายที่ 13.1) และการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (เป้าหมายที่ 13.2)

  • ความปลอดภัย 

ความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในบทบาทที่สำคัญสำหรับความยั่งยืนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้มีการนำเอาเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยในท้องถนนมารวมไว้ในข้อกำหนดที่ปรากฏอยู่ในแผนพัฒนาเพื่อความยั่งยืนฉบับใหม่ตามที่หน่วยงานที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติในนิวยอร์กนำเอามาใช้ เป้าหมายเฉพาะเพียงอย่างเดียวในเรื่องของสุขภาพก็คือการลดการเสียชีวิตอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนนร้อยละ 50 ในปี 2563 และเป้าหมายในเรื่องของการคมนาคมที่ยั่งยืนในเมืองในหัวข้อเป้าหมายเรื่องชุมชนเมืองก็ได้รับการพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของชุมชนเมืองที่มีความปลอดภัยบนท้องถนนทั่วโลกสำหรับพื้นที่สำคัญ ทั้งนี้ SDG ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อ “กระตุ้นให้มีการดำเนินการในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความสำคัญกับมนุษยชาติและโลก” 

ย่อหน้าสุดท้ายของเนื้อหาในแต่ละเป้าหมาย ซึ่งผู้นำของโลกนำเอามาใช้อย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดในนิวยอร์กก็คือ  

เป้าหมายที่ 3  

ทำให้แน่ใจว่าผู้คนทุกเพศทุกวัยมีสุขภาพดีและได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี  

3.6 ในปี 2563 จำนวนของผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว (ในเป้าหมายด้านสุขภาพ เป้าหมายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนถูกจัดไว้ให้อยู่ในระดับเดียวกันเป้าหมายอื่นๆ ที่สำคัญ ซึ่งจะรวมถึงการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ และความคุ้มครองสุขภาพที่ครอบคลุม เป้าหมาย SDG ในปี 2563 จะไปไกลกว่าเป้าหมายสำหรับปี 2563 ที่กำหนดไว้ในส่วนของ ทศวรรษแห่งการดำเนินงานอย่างจริงจังของสหประชาชาติในส่วนของความปลอดภัยบนท้องถนนเพื่อที่จะ “คงจำนวนและลดจำนวน” การเสียชีวิตอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน)  

เป้าหมายที่ 11  

ทำให้การจัดการด้านเมืองและมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย ปรับเปลี่ยนได้ และยั่งยืน – 11.2 – ในปี 2573 จะจัดให้มีการเข้าถึงระบบการคมนาคมที่ปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เข้าถึงได้ และยั่งยืนสำหรับทุกคน มีการปรับปรุงพัฒนาความปลอดภัยบนท้องถนน มีการขยายระบบคมนาคมสาธารณะ ซึ่งจะมีการให้ความใส่ใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของบุคคลที่ด้อยโอกาส ผู้หญิง เด็ก บุคคลทุพพลภาพ และผู้สูงอายุ ในส่วนของประเด็นเรื่องความปลอดภัย เป้าหมาย SDG ที่เกี่ยวข้องอันมีส่วนเกี่ยวพันกับสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงานBugaboo อยู่ในเป้าหมายที่ 3 8 และ 16 ของ SDG 

เป้าหมายที่ 3  

3.9 ในปี 2573 จะมีการลดจำนวนของผู้เสียชีวิตและผู้เจ็บป่วยอันเนื่องมาจากสารเคมีอันตรายรวมทั้งมลภาวะทางด้านอากาศ น้ำ และดิน รวมทั้งการปนเปื้อนให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการนำเอากรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบมาบังคับใช้ในทุกประเทศตามความเหมาะสม  

เป้าหมายที่ 8  

8.8 คุ้มครองสิทธิของแรงงานและส่งเสริมให้รายงานทุกคนทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและปราศจากอันตราย ซึ่งจะรวมถึงแรงงานชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะแรงงานชาวต่างประเทศที่เป็นหญิง และบุคคลที่ทำงานที่อันตราย  

เป้าหมายที่ 16  

16.6 พัฒนาสถาบันที่มีประสิทธิผล ตรวจสอบได้ และโปร่งใสในทุกระดับ