มจธ. ร่วมจัดแสดงผลงานส่งเสริมนโยบาย Carbon Neutrality 2040 ในงาน ASEW 2023

KMUTT participated in showcasing its achievements in promoting the Carbon Neutrality 2040 policy at ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK (ASEW) 2023.

Date: August 30, 2023

Venue: Hall1, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)

วันนี้ (30 สิงหาคม 2566) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้า ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK (ASEW) 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

โดยมีผลงานใน 3 ด้าน หลัก ดังนี้

  1. นโยบายและกิจกรรม มจธ. มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2040 (KMUTT CARBON NEUTRALITY 2040)
    • So Cool การลดอุณหภูมิพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ด้วย SOlar and LongWave Environmental Irradiance Geometry model (SOLWEIG)
    • Zero Waste KMUTT นำเสนอผลงาน “ไบโอซีเมนต์” วัสดุเหลือใช้จุลินทรีย์ที่มาจากกากน้ำปลา สู่ซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมชวนทำกิจกรรม D.I.Y Mini Workshop สิ่งประดิษฐ์จาก “ลูกหงอนไก่ทะเล” และโครงการ Say no to single use plastics การจัดการขยะกำพร้า “ปันถุง” ถุงใส่ของจากซองกาแฟ
  2. หลักสูตรความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง โดยบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ได้แก่ หลักสูตร Ph.D. in Sustainable Energy Systems (SES) หรือ ระบบพลังงานที่ยั่งยืน และ หลักสูตร Ph.D. Program in Environment, Climate Change and Sustainability (ECS)
  3. งานวิจัยและบริการวิชาการ
    • Smart EV โดย ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) นำเสนอ กลุ่มวิจัยFuture Automotive Structure (FASt) มุ่งสู่การเป็นกลุ่มวิจัยด้านการออกแบบโครงสร้างยานยนต์สมัยใหม่ด้วยการคำนวณขั้นสูง
    • กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ โดย รศ. ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร นักวิจัยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และอาจารย์ประจำสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
    • ผลงานของคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ กลุ่มวิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจหมุนเวียน เรื่อง เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้ง ถ่านอัดแท่ง ถ่านดูดกลิ่น และกระถางอัดมือ โดย นารีรัตน์ สุขขี, รศ. ดร.สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์, ผศ. ดร.นริส ประทินทอง และดร.พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
    • ผลงานจากห้องปฏิบัติการร่วมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Integrative Bioerfinery Laboratory: IBL) โดย BIOTEC ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) อาทิ กระบวนการเตรียมเยื่อออร์กาโนโซล์ฟเพื่อขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการแบบกึ่งไร้ของเสีย (Near zero waste pulping process) เพื่อผลิตกระดาษสำหรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบชานอ้อยของภาคอุตสาหกรรม เส้นพิมพ์สามมิติจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อการออกแบบและยืดอายุผลิตภัณฑ์ (3D printing filament from biobased industry for product design and shelf life extension) การประยุกต์ใช้ออร์กาโนโซล์ฟลิกนินจากวัตถุดิบชีวมวลภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมเม็ดสีจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อการป้องกันรังสียูวีและต้านทานสารอนุมูลอิสระ (Cosmetic product with biobased functional pigment for UV protection and antioxidation)