KMUTT participated in showcasing its achievements in promoting the Carbon Neutrality 2040 policy at ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK (ASEW) 2023.
Date: August 30, 2023
Venue: Hall1, G Floor, Queen Sirikit National Convention Center (QSNCC)
วันนี้ (30 สิงหาคม 2566) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ร่วมจัดแสดงในงานมหกรรมงานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมนานาชาติด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน และยานยนต์ไฟฟ้า ASEAN SUSTAINABLE ENERGY WEEK (ASEW) 2023 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)
โดยมีผลงานใน 3 ด้าน หลัก ดังนี้
- นโยบายและกิจกรรม มจธ. มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2040 (KMUTT CARBON NEUTRALITY 2040)
- So Cool การลดอุณหภูมิพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ด้วย SOlar and LongWave Environmental Irradiance Geometry model (SOLWEIG)
- Zero Waste KMUTT นำเสนอผลงาน “ไบโอซีเมนต์” วัสดุเหลือใช้จุลินทรีย์ที่มาจากกากน้ำปลา สู่ซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมชวนทำกิจกรรม D.I.Y Mini Workshop สิ่งประดิษฐ์จาก “ลูกหงอนไก่ทะเล” และโครงการ Say no to single use plastics การจัดการขยะกำพร้า “ปันถุง” ถุงใส่ของจากซองกาแฟ
- หลักสูตรความยั่งยืนที่เกี่ยวข้อง โดยบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ได้แก่ หลักสูตร Ph.D. in Sustainable Energy Systems (SES) หรือ ระบบพลังงานที่ยั่งยืน และ หลักสูตร Ph.D. Program in Environment, Climate Change and Sustainability (ECS)
- งานวิจัยและบริการวิชาการ
- Smart EV โดย ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) นำเสนอ กลุ่มวิจัยFuture Automotive Structure (FASt) มุ่งสู่การเป็นกลุ่มวิจัยด้านการออกแบบโครงสร้างยานยนต์สมัยใหม่ด้วยการคำนวณขั้นสูง
- กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษชนิดควบคุมตัวเองอัตโนมัติ โดย รศ. ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร นักวิจัยสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ และอาจารย์ประจำสายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
- ผลงานของคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ กลุ่มวิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจหมุนเวียน เรื่อง เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษมะพร้าวน้ำหอมเหลือทิ้ง ถ่านอัดแท่ง ถ่านดูดกลิ่น และกระถางอัดมือ โดย นารีรัตน์ สุขขี, รศ. ดร.สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์, ผศ. ดร.นริส ประทินทอง และดร.พิสิฐพงษ์ อินทรพงษ์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ
- ผลงานจากห้องปฏิบัติการร่วมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Integrative Bioerfinery Laboratory: IBL) โดย BIOTEC ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) อาทิ กระบวนการเตรียมเยื่อออร์กาโนโซล์ฟเพื่อขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการแบบกึ่งไร้ของเสีย (Near zero waste pulping process) เพื่อผลิตกระดาษสำหรับขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์อาหารจากวัตถุดิบชานอ้อยของภาคอุตสาหกรรม เส้นพิมพ์สามมิติจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อการออกแบบและยืดอายุผลิตภัณฑ์ (3D printing filament from biobased industry for product design and shelf life extension) การประยุกต์ใช้ออร์กาโนโซล์ฟลิกนินจากวัตถุดิบชีวมวลภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผสมเม็ดสีจากอุตสาหกรรมฐานชีวภาพเพื่อการป้องกันรังสียูวีและต้านทานสารอนุมูลอิสระ (Cosmetic product with biobased functional pigment for UV protection and antioxidation)