“จากพระปฐมเจดีย์ถึงนครศรีเทพ: กำเนิดงานโบราณคดีสมัยใหม่ในยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” หนึ่งในหัวข้อเสวนาการศึกษารากฐานวิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่ ภายใต้โครงการ “พระจอมเกล้าฯ ศึกษา”

“From Phra Pathom Chedi to the Ancient Town of Si Thep: The Genesis of Ancient and Modern Archaeology in the Reign of His Majesty King Mongkut,” a topic from the study of scientific foundations and modern science under the “Phra Chom Klao Studies” project.

Date: November 2, 2023

Venue: Meeting Room LIB 108, KMUTT Library (KMUTT Bangmod Campus)

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยสำนักหอสมุด ได้จัดกิจกรรมเสวนาเชิงวิชาการสะท้อนรากฐานวิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่ ภายใต้โครงการ “พระจอมเกล้าฯ ศึกษา” ในหัวข้อ “จากพระปฐมเจดีย์ถึงนครศรีเทพ: กำเนิดงานโบราณคดีสมัยใหม่ในยุคพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ณ ห้องประชุม LIB 108 อาคารสำนักหอสมุด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคน และให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งตอบสนองความต้องการของสังคมและชุมชน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอด และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแพร่หลายต่อไป โดยเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มจธ. กับเครือข่ายคณะทำงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรมศิลปากร วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รวมถึงเครือข่าย 3 พระจอมเกล้าฯ ในการดำเนินการ

ในการนี้ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และ ผศ. ดร.สุธาทิพย์ มณีวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ. ดร.ดวงกมล อัศวมาศ อาจารย์ประจำสาขาสหวิทยาการ โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คุณชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ผศ. ดร.สาระ มีผลกิจ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสหวิทยาการการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นวิทยากร และมี ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนินการเสวนา จากวงเสวนาดังกล่าว มีการนำเสนอเกร็ดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นอาณาจักรทวารวดีในฐานะ Civilization ประเด็นวิธีการทางโบราณคดีสมัยใหม่: การบูรณะโบราณสถาน โบราณวัตถุ และประเด็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้น

ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ในนาม “พระจอมเกล้า” เป็นชื่อของสถาบัน ทั้งสามสถาบัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้มีการรวบรวมและศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2566 ผู้บริหาร มจธ. ต้องการให้มีการริเริ่ม “โครงการพระจอมเกล้าฯ ศึกษา” ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนถึงรากฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศไทย อันเกี่ยวเนื่องกับพระปรีชาสามารถ พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และบุคคลสำคัญต่าง ๆ แห่งรัชสมัยของพระองค์ เพื่อที่จะนํามาพัฒนาต่อยอดความรู้จากแนวพระราชดำริ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดสู่การศึกษาวิจัยให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน และเพื่อหล่อหลอมจิตใจ และความผูกพันในสถาบันในพระนาม