“New digital technology & Future of industry” เมื่อมีเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เกิดขึ้น งานใดบ้างในอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว ?

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30-15.30 น. ทีม KMUTTWORKS ได้จัดกิจกรรม KMUTTWORKS Webinar ครั้งที่ 3  ขึ้นในหัวข้อ “New digital technology & Future of industry” เมื่อมีเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ เกิดขึ้น งานใดบ้างในอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัว ?

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 2 ท่าน ได้แก่

  1. ผศ. ดร.สันติ นุราช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  2. คุณนิติกร เอี่ยมนภา ผู้ก่อตั้งบริษัท อีซีเอ็กซ์ อินโนเวชั่น จำกัด

มาร่วมกันเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ในทั้งแง่มุมของภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม

หากเราจะนิยามคำว่า “เทคโนโลยีใหม่” ในมุมมองของคนหลากหลายกลุ่ม หมายถึงเรื่องอะไรบ้าง ณ ปัจจุบัน (ปลายปี พ.ศ. 2564)

ผศ. ดร.สันติ นุราช อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสมองกลฝังตัว ระบบอัตโนมัติ และ อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์อุตสาหกรรม (IIoT) กล่าวว่า เทคโนโลยีใหม่ในนามของคนทั่วไป คือ เป็นเทคโนโลยีปัจจุบัน เช่น ส่วนที่เป็น Smart Home, Smart Office เป็นสมาร์ทที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น โดยใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อที่จะสั่งการอุปกรณ์ชุดไฟฟ้านี้ได้ รวมถึงเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข เราสามารถที่จะติดตามได้ว่า สุนัขวิ่งไปถึงไหนแล้ว โดยเราสามารถหยิบมือถือขึ้นมาตรวจสอบได้ว่า สุนัขอยู่ที่ไหน และต้นไม้ เรายังสามารถควบคุมการให้ปุ๋ย ดูสภาพแวดล้อมของพืชว่า เมื่อไหร่ควรจะให้ปุ๋ย? และเมื่อไหร่ควรจะให้น้ำ? เป็นต้น และในเรื่องของการช็อปปิ้ง และการซื้อของออนไลน์ เข้าไปซื้อ และคลิกจ่ายเงินและมีบริษัทขนส่งมาส่งของให้เราถึงบ้าน ทุกอย่างเกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสินค้าหลายอย่างไม่จำเป็นต้องเดินไปหน้าร้านแล้ว ต่อไปกลุ่มของวิศวกรรม กลุ่มของคนที่อยู่ในวงการของเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ไฟฟ้า รวมไปถึงการแพทย์ และเครื่องกลโยธา ทุกแขนงเราก็จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานของเรา ในโรงงาน ในออฟฟิศของเรา ให้ดีขึ้น

คุณนิติกร เอี่ยมนภา ผู้ก่อตั้งบริษัท อีซีเอ็กซ์ อินโนเวชั่น จำกัด และผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์อุตสาหกรรม (IIoT) กล่าวว่า เทคโนโลยีใหม่ เป็นเทคโนโลยีที่มีมาอยู่แล้ว แต่อาจจะอยู่ในแง่ของการศึกษาเทคโนโลยีก็จะค่อยปรับมาเรื่อยๆ และอีกหลายแวดวงและกลุ่มคน เช่น เทคโนโลยีใหม่ในเชิงของคนทั่วไป ในเชิงของนักธุรกิจ ในเชิงอุตสาหกรรม ในมุมมองผมเทคโนโลยีใหม่ในตอนนี้ที่เราเห็นอยู่ก็จะเป็น Equipment หรือเป็นอุปกรณ์อะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามองในมุมบุคคลทั่วไปก็อาจจะเป็นพวก Smart Plug, Smart TV พวกนี้ เราก็ไปทำแอปพลิเคชันอะไรสักอย่างหนึ่งบนมือถือ ก็เป็นเทคโนโลยีใหม่แล้ว ส่วนในแง่ของโรงงาน Equipment ก็จะต่างออกไปกับที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ทีวี มิเตอร์ไฟ ซึ่งในโรงงานก็จะเป็นเครื่องจักร อุตสาหกรรม แล้วก็เอามาทำอะไรสักอย่างหนึ่งในแง่ของ มอนิเตอร์ ต่างๆ หรือเป็นการตรวจสอบทางมือถือ หรือมี AI ในการช่วยตัดสินใจต่างๆ สำหรับมุมมองของบุคคลทั่วไป และบุคคลในภาคอุตสาหกรรม

IoT หรือ Internet of Things กับ IIoT หรือ Industrial Internet of Things เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน หรือแตกต่างกันอย่างไร?

ผศ. ดร.สันติ นุราช กล่าวว่าในมุมมองของคนทั่วไป Internet ก็คือเป็นเครื่องมือหรือช่องทางที่ให้เราแลกเปลี่ยนข้อมูล ส่งไฟล์ต่างๆ ส่งข้อมูลให้ผู้สนทนาที่ปลายทางได้ ถ้าเรามองว่า Internet of Things ในมุมมองของคนทั่วไป ที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูล มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับส่วนอื่นๆ อะไรก็แล้วแต่ที่มีความสามารถในการสื่อสารข้อมูล เราจะเรียกว่า Things ตัวนี้ก็คือ สิ่งของ ในภาษาไทยจะแปลว่า เป็นอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ก็คือสิ่งใดๆ ที่มีความสามารถในการสื่อสาร

I อีกตัว Industrial Internet of Things จะคู่กันกับคำว่า Industrial 4.0 ที่เรารู้จักกัน Things ที่เป็น รถ เป็นโทรศัพท์มือถือ เป็นบ้าน เป็นต้นไม้ จะกลายเป็น Things ที่เป็นอุปกรณ์อุตสาหกรรม และโทรศัพท์มือถือของเรา และตัวคอมพิวเตอร์ของเรา ก็จะกลายเป็นซอฟท์แวร์เฉพาะทางสำหรับการเข้าถึงหุ่นยนต์ Internet of Things สำหรับคนธรรมดา ก็คืออินเทอร์เน็ตทั่วๆไป แต่ถ้า Industrial Internet of Things จะมีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยว

คุณนิติกร เอี่ยมนภา เสริมว่า  IoT – Internet of Things กับ IIoT – Industrial Internet of Things ต่างกันคือ ในแง่ของบุคคลทั่วไป IoT เช่น เราใช้บริการเครื่องซักผ้า เราก็นำเทคโนโลยีที่มีมาอยู่แล้ว มาทำเป็นแอปพลิเคชัน เพื่อสามารถทำให้อุปกรณ์เครื่องซักผ้ามันมีความฉลาดมากขึ้น หรือทำให้สมาร์ทมากขึ้น เราก็สามารถดูว่าเครื่องซักผ้านั้นว่างหรือยัง หรือยกตัวอย่าง Smart Farm นอกจากการปลูกผัก และรดน้ำต้นไม้ ถ้ามีแอปพลิเคชันตัวนี้มันก็ช่วยได้ เพราะนี่คือ IoT ของคนทั่วไป

กับ IIoT ถ้าเป็นของคนทั่วไป คือ จะเป็นแอปพลิเคชันง่ายๆ บางทีในเครื่องจักรก็มีการเรียนรู้ การปรับค่า การแจ้งเตือนต่างๆ และนี่ก็เป็นตัวอย่างระหว่าง IoT กับ IIoT

Internet of Things เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ ที่จะทำ Digital Transformation หรือจะไปสู่คำว่า Smart อย่างไรบ้าง? และถ้าเป็นอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก SME จะต้องมีขนาดเกณฑ์เลือกเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับกับตัวเองอย่างไร ?

คุณนิติกร เอี่ยมนภา อธิบายว่า  เราเป็นผู้ใช้งาน ส่วนใหญ่เราไม่ได้เป็นผู้สร้าง เราใช้งานอย่างเดียวเราอาจจะไม่ได้เข้าใจในหลักการนั้นจริงๆ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ก็มีการปรับตัว เจ้าของโรงงานก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ณ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง เทคโนโลยีนั้นจะนำมาประยุกต์และปรับใช้อย่างไร เราต้องรู้เครื่องจักรของตัวเองก่อนว่า มีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง

สำหรับคนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา มีวิชาใหม่ๆ ทักษะอะไรใหม่ๆ ที่ควรจะต้องปรับตัว หรือเรียนเพิ่มตอนนี้    เพื่อที่จะได้จบออกไปแล้วมีงานทำที่ดี สร้างรายได้ให้กับตัวเอง เป็นวิศวกรที่ทรงคุณค่า หรือเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่า ?

ผศ. ดร.สันติ นุราช กล่าวทิ้งท้ายว่าอนาคตคนที่มีทักษะแบบเดิมๆ หรือว่าคนที่ถูกสอนมาในระบบโรงเรียน ระบบฝึกอบรม แม้กระทั่งมหาวิทยาลัย อาจจะทำให้นักเรียนและนักศึกษาของเราเสียเวลาเปล่า คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ยังสำคัญมากๆ อยู่เหมือนเดิม แต่ว่าการเรียนการสอนเราต้องมองที่หลักสูตร ทุกคนคุ้นชินกับ Social Media – Line Facebook Twitter ทุกวันนี้ทำอะไรได้บ้าง ในฝั่งคน Automation ในอุดมคติโรงงานจะทำงานของมันเอง โดยที่เราไม่ใช้คน เราจะไม่ใช้แรงงานเป็นแรงงานที่เป็น Skill ก็คือ มีทักษะชำนาญเฉพาะด้าน เมื่อก่อนมีกระแสว่าคนจะตกงาน คนจะตกงานได้ก็ต่อเมื่อคนไม่ปรับตัว นักเรียน นักศึกษา ตอนนี้เราอยู่ในยุคที่สามารถที่จะศึกษา หาความรู้ เพิ่มทักษะ ผ่านทางโลกอินเทอร์เน็ต