









คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (CMM), สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (PPT) และสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT) จัดโครงการ “การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Conference on Media Technology, Knowledge and Education in Next Era (IMKEN2025)” ระหว่างวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2568 ณ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มจธ. ในรูปแบบ Hybrid นำโดย ผศ. ดร.ชนินทร์ ตั้งพานทอง ประธานโครงการกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน, รศ. ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์ คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี กล่าวเปิดงานและกล่าวแนะนำผู้จัดงาน จาก 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาแห่งประเทศไทย (Thailand Association for Educational Communications and Technology) สมาคมเมตาเวิร์สแห่งประเทศไทย (Metaverse Association of Thailand) และสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย (The Thai Packaging Association-TPA) ภายในงานมีการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ช่วง ได้แก่ (1) Prof. Yasunari OBUCHI, Tokyo University of Technology, Japan ในหัวข้อ “Audio Processing and Machine Learning – Past, Present, and Future” (2) Prof. Dr. Wan Ahmad Jaafar Wan Yahaya, University Sains Malaysia, Malaysia ในหัวข้อ “The Future of AI and Interactive Media in Education” และ (3) Assoc. Prof. Dr. Eugene G Kowch, University of Calgary, Canada ในหัวข้อ “Education Technology Environment for Globalization” ซึ่งการจัดประชุมวิชาการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้ และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรและนักศึกษาจาก มจธ. กับบุคลากรและนักศึกษาจาก Tokyo University of Technology ประเทศญี่ปุ่น / Werklund School of Education, University of Calgary ประเทศแคนาดา / Pusat Teknologi Pengajaran & Multimedia, Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ ในรูปแบบออนไซต์ ออนไลน์ และรูปแบบโปสเตอร์ และกิจกรรม Workshop ด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้เวทีดังกล่าวฯ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และเกิดการพัฒนาเป็นนวัตกรรม รวมทั้งยังได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันกับนักวิจัยต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การเกิดองค์ความรู้ใหม่ และการพัฒนางานวิจัยร่วมกันต่อไปในอนาคต