ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล

นโยบายธรรมาภิบาลอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มี 4 มิติ

มิติที่ 1 คุณภาพ: ทุกภารกิจของมหาวิทยาลัยรวมถึง การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการสนับสนุนการผลิตบัณฑิตต้อง (ก) ดำเนินตามมาตรฐาน หรือเงื่อนไขความต้องการ และ (ข) ตอบสนองความต้องการ และสร้างความพึงพอใจต่อ “ลูกค้า” และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

มิติที่ 2 ความเป็นเลิศที่เกี่ยวข้อง: ความเป็นเลิศของการดำเนินการในทุกมิติ โดยมุ่งสร้างงานที่ (ก) มีความหมายต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย และ (ข) เป็นความภาคภูมิใจของประชาคม มจธ.

มิติที่ 3 ผลิตภาพ: สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ ด้วยทรัพยากรที่มี (เช่น ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน และวัสดุและอุปกรณ์)

มิติที่ 4 การกำกับดูแล: คือการทำตามหลักกการธรรมาภิบาลทั้งสิบดังนี้

รายละเอียดหลักการธรรมาภิบาลมีทั้งหมด 10 ข้อ

ความมีประสิทธิผล

การบริหารรัฐกิจต้องใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และนำไปสู่ผลิตภาพ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน และนำไปสู่ผลประโยชน์สาธารณะสูงสุด นอกจากนี้จะต้องมีลดจำนวนขั้นตอนและเวลาสำหรับการ ดำเนินการ เพื่อ (ก) อำนวยความสะดวกและลดค่าใช้จ่าย และ (ข) ละทิ้งภารกิจที่ล้าสมัยและไม่จำเป็น

ความมีประสิทธิภาพ

ในการบริหารรัฐกิจ วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์จำเป็นต่อการดูแล ความต้องการของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน การทำหน้าที่ตามพันธกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร เป้าหมายการดำเนินการต้องได้รับการระบุอย่างชัดเจน ในระดับที่ตอบสนองความคาดหวังของสาธารณะได้ อย่างที่น่าพึงพอใจ การสร้างกระบวนการการดำเนิน การอย่างเป็นระบบ การจัดการความเสี่ยง และมุ่งสู่ ความเป็นเลิศด้านสมรรถนะด้วยการติดตาม และการปรับปรุงการดำเนินอย่างต่อเนื่อง

การตอบสนอง

การบริการรัฐกิจต้องจัดหาบริการคุณภาพ และสามารถ ทำบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่มอบหมาย สร้างความมั่นใจและความเชื่อใจ ตอบสนองความ คาดหวังและความต้องการของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างเป็นที่น่าพึงพอใจและเหมาะสม

การรับผิดรับชอบ

การบริหารรัฐกิจต้องสามารถจัดการต่อคำถาม และทำข้อสงสัย ให้แจ่มแจ้ง ต้องทำให้มีระบบสำหรับรายงานความก้าวหน้า และสมรรถนะตามเป้าหมายสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ ของการตรวจสอบ และการให้รางวัล/การลงโทษ เตรียมระบบเพื่อแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงปัญหาและผลกระทบที่เป็นไปได้

ความโปร่งใส

การบริหารรัฐกิจต้อง (ก) ถูกดำเนินด้วยความซื่อสัตย์และ ความตรงไปตรงมา (ข) เปิดเผยข้อมูลและข่าวสารที่จำเป็น และน่าเชื่อถืออย่างสม่ำเสมอต่อสาธารณะ และ (ค) ทำให้มีระบบที่เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารได้ง่าย

การกระจายศูนย์

ในการบริหารรัฐกิจ ควรมีการส่งต่อที่เหมาะสมของอำนาจ และการกระจายภาระหน้าที่ของการตัดสินใจ และการดำเนินงานแก่ ผู้ดำเนินงานในระดับต่าง ๆ การถ่ายโอนบทบาท และภารกิจต่อการดูแลท้องถิ่น และกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ

นิติธรรม

การบริหารรัฐกิจต้องใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับอย่างเข้มงวด ยุติธรรม และไม่แบ่งแยก โดยคำนึงถึงสิทธิ และอิสรภาพของประชาชน และผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลาย

ความเสมอภาค

การบริหารรัฐกิจต้องจัดหาการบริการที่เสมอภาค โดยไม่มีการแบ่งแยกระหว่างฐานะ เพศ ถิ่นกำเนิด เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ภาษา อายุ และสภาพการณ์ทางกายภาพหรือสุขภาพ และอื่น ๆ โดยคำนึงถึงโอกาสที่เท่าเทียม สำหรับเข้าถึงบริการสาธารณะของผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย

การมีส่วนร่วม

การบริหารรัฐกิจต้องฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องเปิดใจต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับรู้ เรียนรู้ เข้าใจ และบอกมุมมองของตน แสดงปัญหาและ ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง กระบวนการตัดสินใจ และดำเนินการ และการติดตามสมรรถนะ

เป็นไปตามฉันทามติ

การบริหารรัฐกิจต้องพยายามมุ่งหาฉันทามติ หรือการตกลง ร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงต้องไม่มีการคัดค้าน สำหรับประเด็นสำคัญโดยไม่ได้รับการแก้ไข

Top