The World Economic Forum คาดการณ์ว่า ภายในปี 2565 นี้ จะมีการโยกย้ายงาน หรือมีงานอย่างอื่นเข้ามาแทนที่ 75 ล้านตำแหน่ง ใน 20 ประเทศเศรษฐกิจหลัก และในขณะเดียวกันคาดว่าจะมีการสร้างหรือเพิ่มงานในบทบาทใหม่ หรือตำแหน่งใหม่อีกถึง 133 ล้านตำแหน่ง ซึ่งจะถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีและดิจิทัล ยิ่งทำให้คำว่า Upskill และ Reskill ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น
การ Upskill เป็นการเสริมและพัฒนาทักษะของพนักงานจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน และส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาปรับใช้ให้เข้ากับการทำงาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ ส่วนการ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ที่แตกต่างไปจากงานเดิมที่ทำอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้กับบริบทอื่นของตำแหน่งงาน และเพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับการทำงานในยุคที่มีการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นคนที่เก่งและดี ซึ่งแต่เดิมนั้นหมายถึงกลุ่มคนอายุช่วงนึงประมาณ 18-30 กว่าๆ โปรแกรมที่มหาวิทยาลัยทำมาตลอด คือการออกแบบชุดของความรู้ที่ทุกคนต้องเข้ามาเรียน 2-4 ปี แล้วแต่ปริญญานั้น ๆ แต่วันนี้มหาวิทยาลัยเห็นความต้องการของประเทศ ในการพัฒนากลุ่มคนวัยทำงาน เพราะอุตสาหกรรมเปลี่ยนไป การ Disruption ทั้งเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่เกิดขึ้น ทำให้บุคลากรในวัยทำงานหรือภาคอุตสาหกรรม มีความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเองอย่างเร่งด่วน มหาวิทยาลัยมองว่า พันธกิจของมหาวิทยาลัยจึงไม่ได้มีแค่การพัฒนากลุ่มบัณฑิตปริญญาตรีโทเอกเท่านั้น แต่มหาวิทยาลัยต้องสามารถที่จะนำความเชี่ยวชาญของอาจารย์และบุคลากรไปช่วยคนวัยทำงานได้ด้วย
การออกแบบโปรแกรมที่เป็นคอร์สยาวๆ เป็นแพคเก็จ หรือเน้นทฤษฎีแบบที่ออกแบบให้นักศึกษา คงไม่เวิร์คสำหรับคนวัยทำงาน มหาวิทยาลัยจึงศึกษาความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมว่าเขาต้องการอะไร วันนี้เขามี paint-point อะไร แล้วมหาวิทยาลัยจึงจัดการให้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญได้เจอกับภาคอุตสาหกรรมที่เขามี paint-point นั้นจริง ๆ ได้มาออกแบบโปรแกรมร่วมกัน ไม่ใช่แค่เนื้อหาและคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการหรือตรงกับปัญหาเหล่านั้น แต่ยังหมายถึงรูปแบบการเรียน คนวัยทำงานไม่สามารถมานั่งเรียนในวันจันทร์-ศุกร์ 9 โมงถึง 5 โมงเย็น มหาวิทยาลัยต้องเอาดิจิทัลแพลตฟอร์มบางอย่างมาใช้ให้คนเรียนสะดวกมากขึ้น ในรูปแบบที่แต่ละคนเข้าถึงได้จริง ใช้งานได้จริง จึงได้เกิดระบบพัฒนากำลังคนวัยทำงานที่เรียกว่า KMUTTWORKS ขึ้นมา
ดร.อรกัญญา เยาหะรี ผู้ช่วยอธิการบดี และหัวหน้าศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มจธ. ได้กล่าวถึงผลลัพธ์และความคาดหวังจาก KMUTTWORKS ไว้ว่า “โครงการหรือโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ KMUTTWORKS ต้องมั่นใจว่าเป็น Demand push ตรงโจทย์ ตรงตามความต้องการ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาจารย์ที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย จะสามารถออกแบบโปรแกรมต่าง ๆ ให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้ วิธีที่ มจธ. เรานำมาใช้ภายใต้โครงการ KMUTTWORKS คือการชักชวนพันธมิตรในภาคอุตสาหกรรมมาร่วมออกแบบคอร์สกับเรา ให้เขามาบอกว่า ตอนนี้เขามีความต้องการและปัญหาอะไร แล้วชวนอาจารย์ร่วมกันระดมความคิด ร่วมกันแก้ปัญหานั้นให้ภาคอุตสาหกรรม โดยมองว่าคอร์สเหล่านั้นต้องได้ผลจริง จะต้องเวิร์ค (Works) โลกขณะนี้ทั้งต่างประเทศและในประเทศ สถาบันการศึกษาต่างออกแบบโปรแกรมพัฒนาคนทำงานมามากมาย อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมาเราตอบได้หรือไม่ ว่าสิ่งที่มีอยู่ในท้องตลาดมันเวิร์ค KMUTTWORKS เรามองว่ารูปแบบที่แท้จริงที่คนวัยทำงานเรียนแล้วได้ผลจริง ๆ คือการผสมผสานระหว่างตัวคอนเทนต์กับ Hand-on experience ที่ผ่านมามีทั้งเอกชนและภาครัฐหลายๆ ที่ ออกแบบโปรแกรมต่างๆ ที่น่าสนใจมากๆ มาพัฒนาคนวัยทำงาน แต่สิ่งนึงที่ขาดหายไป คือเรื่องของ Hand-on experience เรื่องมือเปื้อน เรื่องลงมือทำ มจธ. เรามองว่า การที่คนคนนึงจะพัฒนาตนเองได้ ไม่ใช่เรียนด้านทฤษฎีเป็นอย่างเดียว แต่ต้องผสมผสานระหว่างทฤษฏีและ Hand-on experience คือต้องได้จับต้องและลงมือทำจริงด้วย”

KMUTTWORKS ต้องมั่นใจว่าเป็น Demand push ตรงโจทย์ ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ
รูปแบบ Hybrid Learning ที่มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ
“KMUTTWORKS ระบบพัฒนากำลังคนวัยทำงาน ที่คณาจารย์และนักวิจัยจาก มจธ. ได้ศึกษาความต้องการและออกแบบโปรแกรม upskill reskill ในรูปแบบคอร์สระยะสั้น ร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจในรูปแบบ Hybrid Learning ที่มีองค์ประกอบด้วยกัน 6 ด้าน ที่ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนวัยทำงาน กล่าวคือ 1) Real Demand ซึ่งศึกษาจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมจาก Pain-point และ growth-point ของอาชีพนั้นๆ 2) Co-Design ออกแบบร่วมกันระหว่างคณาจารย์นักวิจัย มจธ. และตัวแทนภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ 3) เป็นแนวทางการศึกษาแบบ OBE หรือ Outcome Base Education 4) จัดการการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning 5) มีการใช้ระบบ Facilitator มีเพื่อนช่วยเรียนวัยทำงาน 6) ต้องมี Meaningful Assessment มีการประเมินผลที่มีคุณค่าและมีคุณภาพ”

“บทบาทของ KMUTTWORKS ให้การสนับสนุน 3 ด้าน คือ 1) Education Media Production เช่น สื่อ E-learning ที่ปรึกษาด้าน Instructor Design 2) Business Development เช่น การวางแผนการตลาด ทำสื่อประชาสัมพันธ์ ดำเนินการขายและบริหารจัดการทางการเงิน 3) Facilitators เป็นเพื่อนช่วยเรียนและผู้ช่วยสอนแบบ Virtual ช่วยจัดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน นอกจากนั้นเรายังมีระบบ LMS เพื่อจัดระบบการเรียนรู้แบบ flip classroom เพื่อช่วยให้ผู้เรียนวัยทำงานสามารถมาดูคลิปการสอนย้อนหลังได้ เรามีการประชุมกับทีมผู้สอนกับทุกไตรมาส เพื่อให้เกิดคอมมูนิตี้ภายในมหาวิทยาลัย เพราะทุกวันนี้ความต้องการของกำลังคนวัยทำงานภาคอุตสาหกรรรมและภาคธุรกิจเป็นไปในลักษณะ Multi modern และ functional มากขึ้น อาจารย์จะได้รู้จักกันมากขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความรู้จักโปรแกรมของเพื่อนๆ มากขึ้น จะได้เป็นขุมพลังเซลล์ฟอร์สของมหาวิทยาลัยต่อไป”

ชวนภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจร่วมกันพัฒนาบุคลากรวัยทำงาน
“เราทราบดีว่าด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งเรื่องของดิสรัปชั่น สถานการณ์โควิด ทำให้อุตสาหกรรมมีความกังวลอยู่หลายด้าน ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป จะทำยังไงถึงจะรู้ว่าควรลงทุนเทคโนโลยีแบบไหน ที่จะทำให้ยกระดับ ผลผลิตให้มากขึ้น เราทราบดีว่า เพราะสถานการณ์โควิดที่มาถึง ทำให้โรงงานหรือบริษัททั้งหลาย จำเป็นต้องเปลี่ยน interface ในการทำงาน ทำให้ต้องยอมรับการทำงานจากระยะไกล หรือการทำงานบนแพลตฟอร์มมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมทั้งหลายประสบปัญหาอยู่ ทุกท่านกำลังคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างไร มหาวิทยาลัยมีหน้าที่พัฒนาคน ในอดีตเราทำคอร์สต่างๆ เหมือนกับว่าเราออกแบบไว้ล่วงหน้า แล้วคุณก็มาเรียน แต่ มจธ. เรามองว่า ทำไมภาคอุตสาหกรรมไม่มาออกแบบด้วยกัน ถ้าภาคอุตสาหกรรมมี paint-point ติดต่อเข้ามาที่ มจธ. จับมือเดินไปด้วยกัน ถ้าเทคโนโลยีเปลี่ยนไป interface เปลี่ยนไป ทักษะและสมรรถนะของบุคลากรก็เปลี่ยนไปด้วย คุณอาจกำลังมองหาคู่คิดที่จะช่วยออกแบบให้ครบวงจร ในการที่จะนำพาอุตสาหกรรมของคุณยกระดับและเติบโตไปได้ วันนี้ มจธ. พร้อมที่จะช่วยออกแบบร่วมกับคุณ ทั้งในส่วนเทคโนโลยี ส่วนของเวิร์คโปรเซส และส่วนของ people transformation KMUTTWORKS เรามั่นใจว่ามันเวิร์ค Because its works.”
สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่
www.kmuttworks.com
หรือ FB /kmuttworks