พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ Xi’an Jiaotong University

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้จัดการประชุมความร่วมมือทางวิชาการด้านวัสดุวิศวกรรมและการทดสอบโดยไม่ทำลายขั้นสูง พร้อมทั้งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ระหว่าง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. และ School of Aerospace Engineering, Xi’an Jiaotong University, China ระหว่างวันที่ 6-10 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

พิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่าง มจธ. และ Xi’an Jiaotong University รวมถึงการขยายขอบเขตความร่วมมือไปยังหน่วยงานอื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยมีผู้ร่วมงานจากทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย

Xi’an Jiaotong University

  • Prof. Dr. Tiejun Wang, Director of the State Key Laboratory for Strength and Vibration of Mechanical Structures, Former Vice President of XJTU (Advanced Mechanics)
  • Prof. Dr. Tongqing Lu, Vice Dean, School of Aerospace Engineering, XJTU (Advanced Mechanics and Soft Material Technology)
  • Prof. Dr. Zhenmao Chen, School of Aerospace Engineering, XJTU (Advanced Non-Destructive Testing and Evaluation)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.

  • รศ. ดร.ทวิช พูลเงิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
  • ดร.สมพร เพียรสุขมณี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวท.) มจธ.

  • รศ. เอนก ศิริพานิชกร ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • รศ. ดร.อิศรทัต พึ่งอ้น หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีซ่อมบำรุงรักษา

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากความร่วมมือนี้

  1. ยกระดับมาตรฐานการวิจัยและนวัตกรรมในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในด้านวัสดุวิศวกรรมและเทคโนโลยีการทดสอบโดยไม่ทำลาย
  2. ขยายขอบเขตความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยและต่างประเทศ
  3. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน

ความร่วมมือในครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการวิจัยและนวัตกรรมในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งสร้างโอกาสในการขยายเครือข่ายความร่วมมือทั้งในภาครัฐและเอกชน เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ยั่งยืนในอนาคต