นักศึกษามจธ.คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับสามนำเสนอผลงานหัวข้อ “Innovation for improving daily life, in an aging society ” นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ  

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เข้าร่วมนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation Program 2025 หัวข้อ ” Innovation for improving daily life, in an aging society ” นวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จัดโดย หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ร่วมกับสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยผลงานของทีม Work hard, die fast. Work smart, die first ชื่อผลงาน “ปิ่นปัก” PINPUK SAFETY PIN FOR ELDERLY ซึ่งเป็นอุปกรณ์ช่วยเตือนกิจกรรมประจำวันและตรวจจับสิ่งกีดขวาง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับสาม ได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท พร้อมใบเกียรติบัตร สมาชิกทีมประกอบด้วย อรณิชา นิธิลาภพูล ปาริชาติ แซ่หยุ่ง ณัฐวุฒิ ซิ้มเจริญ อัยย์รดา สินพัฒน์ฐากุล และดิษย์ธร สุทธาเวศ 

ในพิธีเปิดได้รับเกียรติจาก ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อรุณี ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ตุลา จูฑะรสก คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ พัฒนบุญมี รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและผู้เรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์ มจธ. ร่วมให้กำลังใจและแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ 

การแข่งขันครั้งนี้มีทีมผู้แทนจากนิสิต-นักศึกษาจาก 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวม 6 ทีม (มหาวิทยาลัยละ 2 ทีม) คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วยบุคลากรระดับสูงจากหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) อาทิ นายฮิโคอิจิโร่ ยูอิ รองประธานหอการค้าญี่ปุ่นฯ-กรุงเทพฯ และรองประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ นายคะซึชิเกะ อะสะดะ ประธานคณะกรรมการฝ่ายการพัฒนาบุคลากร หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ นายโนบูยูกิ อิชิอิ กรรมการผู้จัดการ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ เลขาธิการสมาคม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)  

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาสร้างนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม และสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านธุรกิจในอนาคต