การพัฒนา มจธ. สู่ความยั่งยืน Cultivating KMUTT Sustainability

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มุ่งพัฒนามหาวิทยาลัยเป็น The Sustainable Entrepreneurial University ที่สร้างผลกระทบต่อ มจธ. ประเทศและโลก (Impact of KMUTT, Nation, and Globe)  ภายใต้ 3 เสาหลักของมิติความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability)  คือ มิติคนในสังคม (People): ต้องตระหนักถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกัน มิติโลกที่อาศัย (Planet): กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนโลกนี้  มิติความรุ่งเรืองขององค์กร (Prosperity): กิจกรรมที่สามารถสร้างคุณค่า และมูลค่าให้ประเทศได้ บนรากฐาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

โดยขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนใน 6 เป้าหมายยุทธศาสตร์ โดยสื่อสาร สนับสนุน ส่งเสริมและประสานงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการและปฏิบัติตามนโยบายความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย

เป้าหมายยุทธศาสตร์สู่ความยั่งยืน ของ มจธ. มีดังนี้

  1. การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ.2583 (KMUTT Carbon Neutrality 2040)
  2. การสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา (Increasing the Student Engagement)
    มุ่งสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน (Sustainability Change Agent) เป็นผู้มีจิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Heart)
  3. การสร้างผลกระทบจากผลงานวิจัย และนวัตกรรม (Demonstrating the Impact of Research and Innovation)
    มุ่งสร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Social, Environmental and Economic Impacts towards SDGs)
  4. การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Encouraging the Community Engagement)
    มุ่งให้เกิดการเรียนรู้คู่ชุมชน (Community-Based Social Lab)
  5. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Building Green Infrastructures & Environment)
    มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและพื้นที่การศึกษาอัจฉริยะ (Green University and Smart Campus)
  6. การสร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน (Creating a Sustainable ​Management System)
    มุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการ (Management for Sustainability) โดยมีกลไกให้เกิดการประสานการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานภายในและภายนอก มจธ.

เป้าหมายยุทธศาสตร์สู่ความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อ มจธ. ประกอบด้วย

  1. มิติคนในสังคม (People)
    • Impact of KMUTT: สร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน (Sustainability Change Agent) เป็นผู้มีจิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Heart)
    • Impact of Nation & Globe: การเรียนรู้คู่ชุมชน (Community-Based Social Lab)
  2. มิติโลกที่อาศัย (Planet)
    • Impact of KMUTT: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและพื้นที่การศึกษาอัจฉริยะ (Green University and Smart Campus)
    • Impact of Nation & Globe: การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ.2583 (KMUTT Carbon Neutrality 2040)
  3. มิติความรุ่งเรืองขององค์กร (Prosperity)
    • Impact of KMUTT: พัฒนาระบบบริหารจัดการ (Management for Sustainability)
    • Impact of Nation & Globe: สร้างผลกระทบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Social, Environmental and Economic Impacts towards SDGs)
คนในสังคม
(People)
โลกที่อาศัย
(Planet)
ความรุ่งเรืองขององค์กร
(Prosperity)
Nation & Glove3. การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน
(Encouraging the Community
Engagement)
6. การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2583
(Carbon Neutrality 2040)
2. การสร้างผลกระทบจากผลงานวิจัย และนวัตกรรม
(Demonstrating the Impact of Research and Innovation)
KMUTT1. การสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
(Increasing the Student
Engagement)
4. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(Building Green Infrastructures &
Environment)
5. การสร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน
(Creating a Sustainable Management System)