รางวัลโครงการดีเด่นในด้านสร้างผลกระทบต่อสังคม
โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคนพิการ
“เฮ็ดดิคราฟ” Heddi Craft @สกลนคร
โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
นริษา ใจศรี
วัชริศ รักชัยกิจ
ธนพรพรรณ ศรีคงจันทร์
Maryvian Facinal Ronquillo
ชินกฤต เทอดเกียรติ
อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ผศ.วรนุช ชื่นฤดีมล / ผศ. ดร.บุษเกตน์ อินทรปาสาน
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม: ผศ.นันทนา บุญลออ / คุณสุเมธ ท่านเจริญ / ผศ.นิธิ บุรณจันทร์
โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคนพิการ “เฮ็ดดิคราฟ” เป็นหนึ่งในโครงการฝึกและพัฒนาทักษะคนพิการเพื่อเตรียมความพร้อมการประกอบอาชีพในสถานประกอบการ และการประกอบอาชีพอิสระ ในหลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น สร้างแบรนด์ “เฮ็ดดิคราฟ” ผลิตภัณฑ์จากกลุ่มคนพิการจังหวัดสกลนคร ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น การออกแบบชิ้นงาน การใช้สี การถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ การสื่อสารกับลูกค้า การทำตลาด เช่น การคำนวณต้นทุน การตั้งราคา เป็นต้น ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อพัฒนาศักยภาพคนพิการให้มีความพร้อมทั้งทักษะการทำงาน การปรับตัว และการอยู่ร่วมกัน
รางวัลชมเชย โครงการพัฒนาที่ยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ประจำปี 2566
โครงการ SoChange & SoCHAMP
โดย กลุ่มนักศึกษา SoChange
อาจารย์ที่ปรึกษา : คุณสุเมธ ท่านเจริญ และคุณเบญจวรรณ ดำรงค์กิจการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สิรวิชญ์ วัฒโน
อภิสิษธ์ชัย กิจเจริญค้า
อนาวิล ฤทธิ์ชัยสงค์
กรรณิการ์ ยืนยงค์
ปาณิตา ฐานะเลิศสกุล
สุพิชฌาย์ นุ่นประสิทธิ์
ณชวรท กาญจนสุธา
พีรสันติ ทัฬหะกาญจนากุล
กิตติภูมิ รัศมีบำรุงวงศ์
ชนากานต์ คงทน
ศุภกร รักนะ
เยาวลักษณ์ อรุณรุ่งอารีย์
นริศ ถนอมทรัพย์
เอมสิณี ดำรงจริยาสีห์
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ญาณิศา พวงทอง
สรวิศ ชีวีวัฒน์วงศ์
กาญจนา ภาษิต
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปภาวรินท์ ฉายแหลมหลัก
ชวัลวิทย์ ปรัตถพงศ์
คณะวิทยาศาสตร์
ดลนภัส ภัทร์ทวีกุล
กลุ่มนักศึกษา SoChange (Social Change) ได้รวบรวมนักศึกษาที่มีความสนใจในการทํากิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกลร่วมกับ KMUTT Social Lab กว่า 30 คน จาก 4 คณะ 8 ภาควิชา มาร่วมกันนําความรู้และประสบการณ์ มาพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนรวมทั้งผู้คนในสังคม อาทิ โครงการค่ายอาสาสร้างแรงบันดาลใจทางการศึกษา โครงการบ่มเพาะเมล็ดสําหรับเด็กและเยาวชนของกองทุนเพื่อการศึกษา เรียนรู้ และสร้างอาชีพ เป็นต้น เพื่อนําไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนตาม Sustainable Development Goals (SDGs)
โครงการจานใบไม้ : การอบรมทักษะนวัตกรและผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมเส้นใยธรรมชาติ การอบรมทักษะนวัตกรและผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมเส้นใยธรรมชาติ
โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
มุ่งหวังที่จะรื้อฟื้นภูมิปัญญาการใช้ชีวิตกับป่า และความเข้าใจธรรมชาติของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงขึ้นมาอีกครั้งเพื่อช่วยแก้หรือบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ผลของกิจกรรมช่วยทำให้ให้อัตลักษณ์และการรับรู้ของคนภายนอกที่มีต่อชุมชนบางกะม่าว่าเป็นชุมชนกะเหรี่ยงที่เก่าแก่และมีประชากรในพื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นชาติพันธุ์นั้นชัดเจนมากขึ้นผ่านการนําเสนอสินค้า บริการ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชุมชนบางกะม่า
มจธ. ให้คุณค่าและยึดมั่นในการสร้าง SOCIAL ENGAGEMENT ให้บุคลากรและนักศึกษา “เรียนรู้คู่สังคม” สร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน พัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีนักวิจัยทำงานเต็มเวลาในหมู่บ้าน สร้างนวัตกรรมหมู่บ้านแห่งการเรียนรู้ อาทิ ไอทีหลังเขาเพื่อความเสมอภาคในการเข้าถึงความรู้และแหล่งเรียนรู้ ระบบโรงเรือนควบคุมสภาวะแวดล้อม ระบบพลังงานสะอาดในพื้นที่ทุรกันดารบูรณาการสะเต็มศึกษาจากฐานทรัพยากรชุมชน เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน เด็กและเยาวชน