Innovation Materials, Manufacturing and Construction

Advanced Lightweight Design and Manufacturing Research Center


ประเภทหน่วยวิจัย: ศูนย์วิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: รศ. ดร.วิทูร อุทัยแสงสุข

Tel: 024709274

Email: vitoon.uth@kmutt.ac.th

Website: https://mailkmuttacth.sharepoint.com/:b:/s/ResearchSTG/EYRye8yvSGRJovEF15TZ_64BOQ386Detzw8CBqHmoPVjJQ?e=hZcnGb

พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับ Next generation vehicle, High speed trains และ Aerospaces รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุตั้งต้น เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมอลูมิเนียม เป็นต้น โดยอาศัยเทคโนโลยีที่เป็นความเชี่ยวชาญของหน่วยวิจัย ได้แก่
  1. Advance steel
  2. Advance aluminium alloys
  3. Composite materials
  4. Metal forming
  5. Welding of dissimilar materials
  6. Additive manufacturing
  7. Designs and topology optimization
  8. Material characterization
  9. Multi-scaling design of metal components
  10. Data-driven design and analysis
  11. Sandwich structures
  12. Bionic structural design
  13. Piezoelectric materials

ศูนย์วิจัยด้านนวัตกรรมการก่อสร้างและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต
(Construction Innovations and Future Infrastructures Research Center)


ประเภทหน่วยวิจัย: ศูนย์วิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: รศ. ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์

Tel: 024709131

Email: sutat.lee@kmutt.ac.th

Website:

สร้างองค์ความรู้สำหรับการพัฒนานวัตกรรมด้านการก่อเสร้างอัจฉริยะ เทคโนโลยีวัสดุ การสำรวจติดตามสภาพโครงสร้าง กลศาสตร์การคำนวณ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนากำลังคนทักษะสูงสำหรับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งด้านการวิจัยสำหรับแก้ปัญหาวิจัยของประเทศในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธา เทคโนโลยีวัสดุ การสำรวจติดตามสภาพโครงสร้างกลศาสตร์การคำนวณ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน โดยอาศัยความเชี่ยวชาญ ดังนี้
  1. Smart/Green Construction
  2. Intelligent Infrastructures
  3. Structural Health Monitoring and Rehabilitation
  4. 3D Laser Scanning Technology
  5. Digital Data for Heritage Documentation and Construction
  6. Construction Materials
  7. Geotechnical Engineering
  8. Earthquake and Disaster
  9. Computational Mechanics
  10. Digital Transformation in the Construction Industry

ศูนย์วิจัยเฉพาะทางการขึ้นรูปโลหะและออกแบบวัสดุ
(Metal Forming and Materials Design Research Center)


ประเภทหน่วยวิจัย: ศูนย์วิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: รศ.ดิลก ศรีประไพ

Tel: 024709207

Email: dilok.sri@kmutt.ac.th

Website:

ศูนย์วิจัยมีความมุ่งหวังในการระดมสรรพวิชา ความรู้ ความชำนาญของกลุ่มนักวิจัยไทยที่มีประสบการณ์การขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น มากกว่า 30 ปีมาบรูณาการ ผนวกกับความเชี่ยวชาญด้านการผลิตของโรรงานอุตสาหกรรม ในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่และชิ้นส่วนอากาศยานภายใต้มาตรฐานข้อกำหนดบังคับของผู้ผลิต และข้อจำกัดในด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรม 3 ประการที่ได้กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อสร้างนวัตกรรม พัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพ สร้างรายได้ให้ได้กับแรงงานคุณภาพสูง สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ตัวสินค้า ยกระดับในการแข่งขันเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเทคโนโลยีกับนานาชาติในระดับสูงสุด เป็นต้นแบบโรงงาน Zero waste ในอุตสาหกรรมยุค 4.0 สำหรับในส่วนการศึกษาและบุคลากรก็จะได้ในเรื่ององค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนา สำหรับการผลิตและสร้างคนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืน

หน่วยวิจัยวัสดุเพอรอฟสไกท์
(Perovskite Materials Research Group)


ประเภทหน่วยวิจัย: ห้องปฏิบัติการ

หัวหน้าหน่วยวิจัย: ผศ. ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์

Tel: 024708803

Email: nopporn.ruj@kmutt.ac.th

Website: https://isc.kmutt.ac.th/?page_id=12&lang=en

ห้องปฏิบัติการมีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีการเตรียมเซลล์แสงอาทิตย์ เพอรอฟสไกท์ในสภาวะอากาศร้อนชื้นของประเทศไทย ด้วยกระบวนการเตรียมสารละลายตั้งต้นเพอรอฟสไกท์ที่มีสัดส่วนองค์ประกอบเคมีที่มีความแม่นยำสูง เทคโนโลยีการเตรียมฟิลม์บางด้วยสารละลายสารเคมี เทคโนโลยีการเตรียมฟิล์มบางด้วยระบบสุญญากาศแบบให้ความร้อน ลำแสงอิเล็กตรอน การเคลือบห่อหุ้มชิ้นงานระดับอะตอม เทคนิคการวัดวิเคราะห์การแยกประจุที่พื้นผิวในสภาวะเร้าทางแสง

กลุ่มวิจัยพอลิเมอร์เเบบยั่งยืนเเละวัสดุคอมพอสิตเชิงนวัตกรรม
(Sustainable Polymer & Innovative Composite Materials Research Group)


ประเภทหน่วยวิจัย: กลุ่มวิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: ผศ. ดร.วันเพ็ญ ช้อนแก้ว

Tel: 024709551

Email: wunpen.cho@kmutt.ac.th

Website: https://www.facebook.com/SPICEKMUTT/

กลุ่มวิจัยมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่
  1. พัฒนาของเหลวไอออนิกชีวภาพ (Natural deep eutactic solvents) สำหรับการสกัดแยกสารประกอบจากชีวมวล
  2. พัฒนากระบวนการได้มาซึ่งสารประกอบจากชีวมวลต่างๆ (เปลือกกระเทียม ฟางข้าว ผักตบชวา เป็นต้น) เพื่อสกัดสารจำพวกลิกนินและเซลลูโลสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางวัสดุชีวภาพ
  3. พัฒนาวัสดุผสม (composite material) จากพอลิเมอร์ชีวภาพและสารสกัดจากพืชเพื่อปรับปรุงสมบัติให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานต่างๆ
  4. พัฒนาการใช้ประโยชน์ต่อจากพอลิเมอร์ชีวภาพและสารสกัดจากพืช (ยาง เซลลูโลส) เพื่อประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ เช่น แผ่นแปะนำส่งยาทางผิวหนัง อุตสาหกรรมยางล้อ ยางทางการทหาร/แพทย์/วิศวกรรม

Advanced Machining Laboratory


ประเภทหน่วยวิจัย: ห้องปฏิบัติการวิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: รศ. ดร.วิบุญ แซ่ตั้ง

Tel:

Email: viboon.tan@kmutt.ac.th

Website:

Advanced Machining Laboratory มุ่งเน้นที่การวิจัย พัฒนา และคิดค้นนวัตกรรมการตัดขั้นสูงด้วยเลเซอร์และกระบวนการตัดแบบผสมผสานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการตัดวัสดุที่ยากต่อการตัด รวมไปถึงชิ้นส่วนขนาดเล็กและชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสูง โดยห้องปฏิบัติการวิจัยมีความเชี่ยวชาญด้าน กระบวนการตัดระดับจุลภาคด้วยเลเซอร์ การถ่ายเทความร้อนและมวลในกระบวนการแปรรูปวัสดุด้วยเลเซอร์ กลศาสตร์ของการตัด เทคโนโลยีการตัดแบบผสมผสาน และกระบวนการตัดขั้นสูงต่างๆ เช่น การตัดด้วยกรรมวิธีไฟฟ้าเคมี การตัดด้วยน้ำแรงดันสูง และการตัดด้วยกระบวนการอีดีเอ็ม

ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ
(Innovative Environmental Management and Smart Construction Materials Laboratory)


ประเภทหน่วยวิจัย: ห้องปฏิบัติการวิจัย

หัวหน้าหน่วยวิจัย: ผศ. ดร.รุ่งโรจน์ ปิยะภานุวัตน์

Tel: 024709965

Email: rungroj.piy@kmutt.ac.th

Website:

มุ่งเน้นงานด้านการใช้ประโยชน์จากของเสียอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในการนำมาผลิตวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมและวัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ โดยมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่
  1. นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
  2. การใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในการผลิตวัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ และวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม
  3. การจัดการของเสียอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม