
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.วนิดา พวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี ร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้ให้กับอาจารย์ นักวิจัย มจธ. จำนวน 18 ท่าน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทรางวัล ดังนี้
(1) รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น


- รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ และคณะ
รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะเฉพาะบุคคลสำหรับศัลยกรรมผ่าตัดขากรรไกรและโรคทางกระดูก” (Personalized Metal Implants for Maxillofacial and Orthopedic Surgeries) - รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ
รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมหมุดจัดฟันขนาดเล็กความแข็งแรงสูงโดยเพิ่มประสิทธิภาพจากกระบวนการปรับผิวแบบการยิงอนุภาคละเอียด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพเพื่อขึ้นทะเบียน อย. และการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน” (Innovation of Ultra-high Strength Micro Implant Anchorage Orthodontic Screw with Fine Shot Peening Process: Standard Testing, FDA Approval and Commercialization)
(2) รางวัลประกาศเกียรติคุณ



- ดร.ปราการเกียรติ ยังคง และคณะ
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผลงานเรื่อง “ระบบควบคุมแรงกดเฉพาะบุคคลอัตโนมัติเพื่อป้องกันแผลกดทับ” (Automatic Personalized-based Pressure Compensation System for Pressure Injury Prevention) - ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว และคณะ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ผลงานเรื่อง “การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบช่วยกายภาพบําบัดผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณขาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และเกม” (The Development of Prototype Robot and Game of Physical Therapy for Amyotrophic Lateral Sclerosis using Artificial Intelligence) - ผศ. ดร.ชุดาณัฏฐ์ สุดทองคง และคณะ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ผลงานเรื่อง “ระบบและอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงหยุดหายใจ ขณะนอนหลับชนิดอุดกลั้น (โรคนอนกรน) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)” (Processing Systems and Equipment to Screen Obstructive Sleep Apnea (snoring) Using Artificial Intelligence (AI))
(3) รางวัลผลงานวิจัย




- รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ และคณะ
รางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
ผลงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีวัสดุพรุนไทเทเนียมเพื่อพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกทางการแพทย์” (Development of Porous Titanium for Bone Replacement Materials) - ดร.สธน ผ่องอําไพ (ร่วมวิจัย)
รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแหล่งกําเนิดพลังงานขนาดเล็กไทรโบอิเล็กทริก : จากทฤษฎีสู่ความเป็นไปได้ในการเป็นอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานสิ่งแวดล้อมชนิดใหม่”(Development of a Triboelectric Nanogenerator: from Theory to Possibility for a New Environmental Energy Harvester) - ศ. ดร.วุฒิพงษ์ คําวิลัยศักดิ์ และคณะ
รางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
ผลงาน “วิธีการตรวจจับการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วย Attention-based YOLOv7 และการประเมินท่าทางของมนุษย์” (Novel Personal Protective Equipment Detection Technique with Attention-based YOLOv7 and Human Pose Estimation) - ผศ. ดร.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ (ร่วมวิจัย)
รางวัลระดับดี สาขาสังคมวิทยา
ผลงานวิจัยเรื่อง “นิยามความเป็นอยู่ที่ดีบนโลกดิจิทัลสำหรับสังคมไทย 5.0 : หนทางในการอยู่ร่วมกันจากประสบการณ์เชิงลึกระหว่างประชากรต่างรุ่นในสังคม” (Defining Digital Well-Being for Thailand 5.0: Solutions Gathered from Insight across Transgenerational Experiences)
(4) รางวัลวิทยานิพนธ์
- ดร.ปรินดา ปานเพชร อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์
รางวัลระดับดี สาขาการศึกษา
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ PEEO โดยการอธิบายและการลงมือทําเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในมโนทัศน์ในเนื้อหาวงจรไฟฟ้าของนักเรียนอาชีวศึกษา” (The Development of Learning Strategy (PEEO) About Explaining and Enacting for Enhance Conceptual Understanding in the Electric Circuit for Vocational Students)

(5) รางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award
- ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว และคณะ
ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผลงานเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาหมอนรองคอต้นแบบในการตรวจจับเสียงกรนด้วยเทคนิคสมองกลฝังตัวสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนกรน” (Design and Development of Prototype Pillow for Detecting Snoring with Embedded Technique for Elderly People with Snoring Problem Reality) - ผศ. ดร.ญาณิน สุขใจ และคณะ
ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ผลงานเรื่อง “ปั๊มความร้อนอุณหภูมิสูงเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนในกระบวนการให้ความร้อนทางอุตสาหกรรม” (High Temperature Heat Pump for Decarbonization of Industrial Process Heat) - ผศ. ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์ และคณะ
ผลงานวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
ผลงานเรื่อง “ผลึกเดี่ยว-สารละลายเพอรอฟสไกท์ สําหรับประยุกต์ในเซลล์แสงอาทิตย์” (Single crystals and Perovskite-solution for Solar Cell Applications) - ดร.ณชมกมล แสงสุข อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์
วิทยานิพนธ์ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การคัดแปรรูปเนื้อสัมผัสและปรับปรุงคุณภาพสเต็กหมูขึ้นรูปที่ง่ายต่อการเคี้ยว ด้วยโบรมิเลนและไฮโดรคอลลอยด์” (Texture Modification and Quality Improvement of Easily Chewable Restructured Pork Steak by Bromelain and Hydrocolloids) - ดร.กรธัช องค์ตระกูลกิจ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ
วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การเพิ่มความแข็งแรงทางกลของโลหะ Ti6AI4V ด้วยการรวมกันของกระบวนการปรับผิวไนโตดิ้งและการพ่นยิงด้วยอนุภาคละเอียด” (Enhancement of Mechanical Strength of Ti6AI4V by Combination of Nitriding and Fine Shot Peening) - ดร.เกียรตินัฏพล จึงเจริญพูน อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. ดร.วิโรจน์ บุญอำนวยวิทยา
วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาการดูดซับยาปฏิชีวนะบนตัวดูดซับพอลิเมอร์แบบไฮบริด” (A Study of Antibiotics Adsorption on Hybrid Polymeric Adsorbents) - ดร.พัชรวัฒน์ เจริญอมรกิตติ์
วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “การหาคุณสมบัติทางการถ่ายโอนมวลและไฟฟ้าเคมีจากการตอบสนองโวลตามเมตริกด้วยแบบจำลองผสมระหว่างการถ่ายโอนมวลและวงจรสมบูลโดยคำนึงถึงผลกระทบของกระแสไฟฟ้าแบบไม่ใช่ฟาราเดอิก” (Determination of Electrochemical and Mass Transport Properties from Voltammetric Responses by a Combined Model of Mass Transport and Equivalent Circuit Considering Effects of Non-Faradaic Current) - ว่าที่ร้อยตรี ดร.พิชา พันธุ์มงคล อารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.อิศรทัต พึ่งอ้น
วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลกระทบของแก๊สรองหลังและแก๊สปกคลุมผสมต่อการกัดกร่อนแบบรูเข็มในการเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมในอุตสาหกรรมอาหาร” (The Effect of Backing and Shielding Gas Mixture on Pitting Corrosion in Welding of Stainless Steel in Food Industry)