KMUTT – BIOTEC – NSTDA – SCELSE partners to organize the HANDS-ON WORKSHOP on “Metagenome Analysis and Microbial Genome Sequencing by Oxford Nanopore Technology”.
Date: June 17-21, 2024
Venue: KMUTT Bang Khun Thian Campus
กลุ่มวิจัยชีววิทยาระบบและชีวสารสนเทศ (SBI) สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ Singapore Center for Environmental Life Sciences Engineering (SCELSE) ประเทศสิงคโปร์ ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Metagenome Analysis and Microbial Genome Sequencing by Oxford Nanopore Technology ในระหว่างวันที่ 17-21 มิถุนายน 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหาลำดับพันธุกรรมดีเอ็นเอและการศึกษาเมตาจีโนมด้วยเทคโนโลยี oxford nanopore, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี oxford nanopore ในการศึกษากลุ่มจุลินทรีย์ ที่มีบทบาทต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ในสภาวะที่สนใจได้ รวมถึงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้และความเข้าใจในการใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง กับการวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคโนโลยี oxford nanopore พร้อมทั้งปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลจริง
วิทยากร โดย รศ.ดร.สุภาภรณ์ ชีวะธนรักษ์ มจธ. , Dr.Rohan Williams, Dr.Irina Bessarab, Ms.Krithika Arumugam Singapore Center for Environmental Life Sciences Engineering (SCELSE) ประเทศสิงคโปร์ และ ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์ หน่วยชีวสารสนเทศทางการแพทย์ ฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภายในงานผู้เข้าร่วมอบรมจะได้เรียนรู้หลักการที่เกี่ยวข้องกับการหาลำดับเบสด้วยเทคโนโลยี oxford nanopore ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เริ่มจากเตรียมสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ การหาลำดับพันธุกรรมจีโนมและเมตาจีโนม และการวิเคราะห์ข้อมูลลำดับดีเอ็นเอในจีโนมและเมตาจีโนม ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาศักยภาพและความสามารถของอาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ในประเทศไทย ทางด้าน High-throughput DNA Sequencing ด้วยเทคโนโลยี oxford nanopore ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในงานวิจัยทางด้านการศึกษาจีโนมและการศึกษาเมตาจีโนมด้วยเทคโนโลยี oxford nanopore ระหว่างทีมวิจัย สรบ. ผู้เข้าร่วมโครงการ และวิทยากรจาก Singapore Centre for Environmental Life Sciences Engineering (SCELSE) ประเทศสิงคโปร์ อันจะทำให้เกิดความร่วมมือทางด้านการทำงานวิจัยทั้งระดับชาติและนานาชาติ และยังผลักดันให้เกิดผลงานวิจัยนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต