KMUTT welcomes Rambhai Barni Rajabhat University for a study visit and experience exchange on Sustainable Development Goals (SDGs)
Date: August 14, 2024
Venue: Pinijwitat Meeting Room (V Space), 14th floor, Learning Exchange: LX King Mongkut’s University of Technology Thonburi












เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ในการดูงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วยากร อุดมโภชน์ รองอธิการบดีด้านวางแผนและพัฒนา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาภาพร บุญมี ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมคณะผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน จำนวน 23 ท่าน ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ (V Space) ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ (N16) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ คณะศึกษาดูงาน พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ เรื่อง“การพัฒนา มจธ. สู่ความยั่งยืน CULTIVATING KMUTT SUSTAINABILITY” และ ดร.ปนาลี แทนประสาน ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการนักศึกษา และเลขานุการ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและประเมินผลการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบประชาคมเป็นศูนย์กลาง บรรยาย ในหัวข้อChange Agent with Green Heart, คุณสุเมธ ท่านเจริญ ที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ บรรยายในหัวข้อ Community-based Social Lab และการบรรยาย ในหัวข้อสุดท้าย เรื่อง KMUTT Carbon neutrality 2040 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุนีรัตน์ ฟูกุดะ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) และประธานคณะทำงานตามเป้าหมายเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality)
จากนั้นจึงเป็นการหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งกิจกรรมเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดย ดร.ปรีชา อาการศ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน ในการนำคณะผู้ศึกษาดูงานเข้าเยี่ยมชม ในพื้นที่ โซนต่างๆ ภายใน มจธ.
อาทิ อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ หรือ Learning Exchange (LX) อาคารต้นแบบที่ถูก ใช้เป็น Living lab เพื่อใช้ในการเรียนการสอนการวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ Green Building, กำแพงต้นไม้บำบัดมลพิษทางอากาศ, สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) และ การจัดการขยะอาคาร Green Society เป็นต้น