มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ และนักวิจัย มจธ. ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567” (Thailand Inventors’ Day 2024) ครั้งที่ 25 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงารการวิจัยแห่งชาติ ผู้บริหาร วช. และผู้ทรงคุณวุฒิ วช. เฝ้ารับเสด็จฯ ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2567 จำนวน 178 รางวัล เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่ได้ค้นคว้าวิจัย และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

ทั้งนี้ รศ. ดร.วนิดา พวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เฝ้ารับเสด็จฯ และแสดงความยินดีกับคณะคณาจารย์ นักวิจัย และผู้ร่วมวิจัย มจธ. ที่เข้ารับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ โดยแบ่งตามประเภทรางวัล ดังนี้

ประเภทรางวัลรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ได้แก่

1. รางวัลระดับดีเด่น  (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)

ผลงานเรื่อง “เครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื่อนที่จากสมุนไพรและดอกไม้หอมไทยโดยใช้เทคโนโลยีก๊าซตัวทำละลายควบแน่นที่อุณหภูมิและแรงดันต่ำเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตยาแพทย์แผนไทยและเวชสำอาง” (Mobile Subcritical Solvent Extractor to Product High Value Terpenes and Essential Oils from Medical Plants and Fragrant Flowers for High-Quality Thai Traditional Medicine and Cosmeceutical Industries) โดย (1) ผศ. ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ (2) ผศ. ดร.จักรภพ วงศ์วิวัฒน์ (3) ดร.ภัทรินทร์ สุพานิชวาทิน (4) นายธนบดี มีลาภ

2. รางวัลระดับดีมาก  (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)

ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าทอง” (Innovation in Adding Value of Gold) โดย (1) รศ. ดร.สิริพร โรจนนันต์ (2) รศ. ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์  (3) นางสาวศิรินทรา จิตชุ่ม

3. รางวัลระดับดี จำนวน 2 รางวัล และในฐานะผู้ร่วมวิจัย จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

    3.1  สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

ผลงานเรื่อง “เครื่องคัดกรองผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์” (Osteoporosis Screening Machine Enhancing Performance by Machine Learning) โดย (1) รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ (2) นายกรธัช องค์ตระกูลกิจ (3) Mr. Miura Kaname (4) นายภวนันท์ ฤทธาเวช

โดยผลงานดังกล่าวได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 10 ผลงานเข้าถวายรายงานต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    3.2  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

ผลงานเรื่อง “การวิจัยและพัฒนาระบบการติดตามจับกุมคนร้ายโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” (Research and Development of Tracking Systems for Arresting Criminals using Artificial Intelligence Technology) โดย (1) ดร.ฐิตาภรณ์  กนกรัตน (2) ผศ. ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ (3) ผศ. ดร.นฤมล ชูเมือง (4) ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว

3.3 รางวัลระดับดี-ผู้ร่วมวิจัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

ผลงานเรื่อง “ระบบตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดสำหรับผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่ง” (ECG Detection System to Prevent Ischemic Heart Disease for the Elderly with AiOT) โดย (1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ชูเมือง (2)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่า (3) ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว (4) ดร.ฐิตาภรณ์ กนกรัตน

4. รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

4.1 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ถ่างขยายผนังหัวใจห้องบนจากโลหะผสมจำรูปเพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว” (Atrial Depressurized Device made from Shape Memory Alloys for Heart Failure Treatment) โดย (1) รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ (2) นายณัฐนัย วรวิจิตราพันธ์ (3) รศ. นพ.ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ (4) ดร. นพ.กฤษฎา มีมุข (5) นายศรัณย์ ธรรมาศิริกุล

4.2  สาขาสังคมวิทยา

ผลงานเรื่อง “การ์ดเกมสูงวัยคิดคล่องป้องกันภาวะสมองเสื่อมขั้นต้น” (Elderly Fluently Thinking Card Game for Prevent Primary Dementia) โดย (1) ดร.วัลลภา วาสนาสมปอง (2) ผศ. ดร.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา

4.3  สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

ผลงานเรื่อง “การพัฒนาระบบควบคุมโดรนด้วยเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสมองกลฝังตัวผ่านการสั่งการจากคลื่นสมองมนุษย์” (The Development of Mechanics Control Drone System with Embedded Deep Learning Technology via Human Brain Waves) โดย (1) ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว (2) ผศ. ดร.มหศักดิ์ เกตุฉ่ำ (3) ดร.ฐิตาภรณ์ กนกรัตน (4) ผศ. ดร.นฤมล ชูเมือง (5) ผศ. ดร.ชูติวรรณ บุญอาชาทอง

ประเภทรางวัลผลงานวิจัย รางวัลระดับดี จำนวน 2 รางวัล และฐานะผู้ร่วมวิจัย 4 รางวัล ได้แก่

1. รางวัลระดับดี  สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

ผลงานเรื่อง “การสังเคราะห์และวิเคราะห์เซลล์แสงอาทิตย์เพอรอฟสไกท์อนินทรีย์ต้นแบบประสิทธิภาพสูง: การศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและการทดลอง” (Synthesis and Characterization on All-inorganic Solar Cell: Combined Theoretical and Experimental Approach) โดย (1) ผศ. ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์  (2) ผศ. ดร.นนท์ ทองโปร่ง (3) รศ. ดร.ธิดารัตน์ สุภาสัย (4) รศ. ดร.วิบุญ แซ่ตั้ง  (5) ดร.พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว (6) ดร.อนุศิษย์ แก้วประจักร (7) ดร.รัชฎาภรณ์ ทรัพย์เรืองเนตร  (8) นายวรัญชิต เรืองศรีสังข์  (9) Dr. Ibrahim Muhammad Adam (10) ดร.เอกภพ เกตุสมบูรณ์ (11) นายสมญา ทันสมัย (12) Miss Kay Thi Soe

2. รางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

ผลงานเรื่อง “วิธีการรู้จำท่าสะกดนิ้วแบบอเมริกันในสภาวะจริงด้วยการเรียนรู้แบบหลายงานและการรวบรวมคุณลักษณะเชิงเวลาและเชิงพื้นที่”(American Sign Language Fingerspelling Recognition in the wild using Multitask Learning and Spatio-Temporal Feature Extraction) โดย (1) ศ. ดร.วุฒิพงษ์ คำวิลัยศักดิ์  (2) ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล (3) ดร.ชัชวาลย์ หาญสกุลบันเทิง (4) นายพีระวัฒน์ พันธ์นัทธีร์

 3. รางวัลระดับดี-ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

ผลงานเรื่อง “วัสดุวิศวกรรมเชิงประกอบเพื่อการใช้งานเฉพาะทางด้านการป้องกันรังสี” (Engineering Composite Materials for Specific Applications in Radiation Protection) โดย (1) รศ. ดร.เกียรติศักดิ์ แสนบุญเรือง (2) ดร.ธีรศานต์ เพียรพานิชย์ (3) นางสาวดลฤดี โตเย็น  (4) นายธิติสรณ์ เอนกรัตน์มนตรี  (5) รศ.เอกชัย วิมลมาลา (6) ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ (7) ผศ. ดร.สิทธิพงค์ มหาธนบดี (8) รศ.ธีระศักดิ์ หมากผิน

4.  รางวัลระดับดี-ผู้ร่วมวิจัย  สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช

ผลงานเรื่อง “ระบบการเตือนภัยและคาดการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อไวรัส SARS-Cov-2 ในน้ำเสียชุมชน” (Early Warning and Predicting System for COVID-19 Outbreaks Using Wastewater-based Epidemiology) โดย (1) ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน (2) ผศ. ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล (3) ดร.จตุวัฒน์ แสงสานนท์  (4) ดร.ประเสริฐ มากแก้ว (5) นายนพดล ปรีชา  (6)  ศ.เกียรติคุณ ดร.ศกรณ์ มงคลสุข  (7) ศ. นพ.ยง ภู่วรวรรณ  (8) ดร.พญ.ศมน วรรณลภากร (9) นางสาวมนทกานต์ ศรีสังข์

5. รางวัลระดับดี-ผู้ร่วมวิจัย  สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

ผลงานเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีการทำบริสุทธิ์น้ำตาลไซโลโอลิโกแซกคาไรค์จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากอ้อย” (Development in Purification Process of Xylooligosaccharide from Sugarcane Waste) โดย (1) ดร.มาริษา ไร่ทะ (2) ดร.สุชาติ พงษ์ชัยผล (3) นางสาวธัญชนก ปรีชากุล (4) ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา (5) ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ (6) ดร.ชญานนท์ โชติรสสุคนธ์ (7) ผศ. ดร.สันติ เชื้อเต๊อะ (8) ดร.อัจฉรา แพมณี  (9) ดร.นพรัตน์ สุริยะไชย

6. รางวัลระดับดี-ผู้ร่วมวิจัย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

ผลงานเรื่อง “ตัวเร่งปฏิกิริยาโลหะไม่มีตระกูลขนาดนาโนเมตรเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูงจากน้ำมันปาล์มและไขมันสัตว์” (Non-noble Metal Nanocatalysts for Advanced Biofuel Production from Palm Oil and Animal Fats) โดย (1) ดร.ขจรศักดิ์ เฟื่องนวกิจ (2) ดร.วรนุช อินธิเบญจพงศ์ (3) ดร.รุ่งนภา แก้วมีศรี (4) ศ. ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ (5) ผศ. ดร.อรรถพล ศรีฟ้า (6) ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์

ประเภทรางวัลวิทยานิพนธ์ จำนวน 1 รางวัล

รางวัลระดับดี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการและการขยายขนาดการผลิตในถังปฏิกรณ์ชีวภาพของการเพาะเลี้ยงเซลล์ข้าวที่มีการตัดต่อพันธุกรรมของยีนทางด้านเมตาบอลิซึมเพื่อการใช้งานทางด้านชีวเภสัชภัณฑ์” (Process Intensification and Scale-up of Metabolically Regulated Rice Cell Culture Bioreactors for Biopharmaceutical Applications) โดย ดร.กันทรากร มาเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์