Training Course & Technical Visit: Management of Areas and Resources Surrounding Railway Stations

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการพัฒนาเมืองทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการการพัฒนาเมืองควบคู่กับการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะระบบขนส่งทางราง เพื่อกำหนดทิศทางและควบคุมการเติบโตของเมืองเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเดินทางด้วยรถไฟและระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบอื่น เนื่องจากเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้พลังงานต่ำ ลดค่าใช้จ่ายด้านคมนาคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานี (Transit Oriented Development: TOD) ด้วยการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ ที่พักอาศัย กิจกรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่นโดยรอบสถานี การท่องเที่ยว และการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่น ๆ ที่หลากหลายบริเวณรอบสถานี ส่งเสริมการเดินเท้า ลดการใช้รถยนต์ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน ช่วยขจัดปัญหาการพัฒนาเมืองแบบไร้ทิศทาง สอดคล้องกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งมีส่วนช่วยในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทางศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT Continuing Education Center) ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดการอบรมและศึกษาดูงานในหลักสูตร “การบริหารจัดการการใช้พื้นที่และทรัพยากรโดยรอบสถานีรถไฟ” ขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรในกิจการขนส่งทางรางของไทย ให้ได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรโดยรอบสถานีขนส่งระบบราง (TOD) จากกรณีศึกษาของต่างประเทศและของประเทศไทย รวมทั้งได้รับประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟในประเทศญี่ปุ่นและการจัดการและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของสถานีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเกิดองค์ความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความคุ้มค่าในการจัดการพื้นที่และทรัพยากรโดยรอบสถานีรถไฟ เพื่อเพิ่มศักยภาพและการใช้ประโยชน์พื้นที่ทั้งในเชิงพาณิชย์ เชิงท่องเที่ยว เชิงสังคม และอื่น ๆ รวมถึงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการศึกษาดูงานสถานีรถไฟที่เป็นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมเห็นถึงความสำคัญและแนวทางการจัดการพื้นที่และทรัพยากรโดยรอบสถานีรถไฟของไทย อันจะส่งผลทำให้องค์กรมีความสามารถในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และส่งผลดีต่อการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารในระบบขนส่งทางราง สอดคล้องกับเป้าหมายและตัวชี้วัดโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ
ผู้บริหารระดับหัวหน้างาน/ฝ่ายขึ้นไป หรือบุคลากรระดับชำนาญการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการใช้พื้นที่สถานีในกิจการขนส่งทางราง ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน บุคลากรจากภาคการศึกษา มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาระบบขนส่งทางรางหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลิงก์รับสมัคร/ช่องทางรับสมัคร | https://forms.gle/5PGtF61LEkzr8oHU9 |
