ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดอบรมหลักสูตร “การบันทึกข้อมูลในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Government Procurement : e-GP) รุ่นที่ 4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานในระบบ e-GP ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่พัสดุใหม่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหาร หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือผู้สนใจทั่วไป

ผลลัพธ์การเรียนรู้

1. สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-GP ที่มีการปรับปรุงใหม่ในระยะ ที่ 5

2. เข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารจัดการด้านการพัสดุภาครัฐให้สอดคล้องกับระบบ e-GP ระยะที่ 5

3. เข้าใจหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

4. ผู้ปฏิบัติงานด้านเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ยังขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงานหรือไม่เคยอบรมเกี่ยวกับการการจัดซื้อจัดจ้างมาก่อนหรือเคยอบรมมาแล้ว ประสงค์ที่เพิ่มพูนองค์ความรู้ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปทบทวนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลและรองรับการปรับปรุงเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานในระบบ e -GP ระบบใหม่ (e-GP ระยะที่ 5)

5. ลดความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้างของเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าเจ้าที่พัสดุ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ รวมทั้ง

ผู้บริหาร หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง

กลุ่มเป้าหมาย

เจ้าหน้าที่พัสดุใหม่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหาร หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือผู้สนใจทั่วไป

เนื้อหาวิชา

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ระยะที่ 5

2. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP การลงทะเบียนผู้ใช้งานระบบ e-GP การใช้งานระบบเบื้องต้น การบันทึกข้อมูลระบบงานต่างๆ ในระบบ e-GP การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี การสร้างโครงการแบบใหม่ตาม e-GP ระยะที่ 5 การค้นหาแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

3. แนวทางการประกาศรายละเอียดข้อมูลราคากลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ

4. ขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบ e-GP สำหรับการซื้อหรือจ้างโดยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบ e-GP สำหรับการจ้างที่ปรึกษา

6. ขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบ e-GP สำหรับการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง

7. การจัดทำสัญญาและการบริหารสัญญาในระบบ e-GP และการแก้ไขสัญญาในระบบ e-GP

8. การบันทึกผลการตรวจรับพัสดุในระบบ e-GP

9. การแก้ไขสัญญา การคืนหลักประกันสัญญาในระบบ e-GP

10. การยกเลิกโครงการ ยกเลิกสัญญา ในระบบ e -GP

11. กรณีศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยๆ

12. การค้นหาประกาศต่างๆ ในระบบ e-GP

13. ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานในระบบ e-GP

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคม 2567 (2 วัน) วันๆ ละ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.

ณ ห้องพุทธรักษา อาคารสัมมนาชั้น 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ถ.ประชาอุทิศ (บางมด)

วิทยากร

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-GP ได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ

2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบเทคโนโลยีทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารจัดการด้านการพัสดุภาครัฐ

3. ผู้เข้ารับการอบรมได้รับทราบถึงหลักการเหตุผล วัตถุประสงค์ หลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ ไปทบทวนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

5. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถลดความเสี่ยงในการจัดซื้อจัดจ้างได้อย่างมีนัยสำคัญ

6. ผู้เข้าผู้อบรมสามารถปฏิบัติงานในระบบ e-GP ที่มีการปรับปรุงใหม่ ของ e-GP ระยะที่ 5 ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด

ค่าลงทะเบียนศึกษาอบรมในหลักสูตร

· ค่าลงทะเบียนในหลักสูตรเป็นเงิน 6,000 บาท (หกพันบาทถ้วน)

ราคานี้รวม เฉพาะค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่าง เท่านั้น (ไม่รวมค่าที่พัก)

· โอนเงินเข้าบัญชี ชื่อบัญชี มจธ.-บริการวิชาการ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สาขาย่อยถนนประชาอุทิศ เลขที่ 330-1-16927-2

· เช็คขีดคร่อมสั่งจ่าย “มจธ.-บริการวิชาการ”

หมายเหตุ :

1. กรุณาส่งใบสมัครก่อนการชำระเงินเพื่อสำรองที่นั่ง (รับสมัครจำนวนไม่เกิน 50 ท่าน)

2. ชำระเงินค่าลงทะเบียนก่อน วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2567 มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ และส่งหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนได้ ทาง E-mail : icec@kmutt.ac.th โทรสาร 0-2470-9636

สนใจสมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณวรารักษ์ วิลัย

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

โทร 0-2470-9630-4, 084-572-5656 โทรสาร 0-2470-9636

(ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.)