ขอแสดงความยินดี อาจารย์ นักวิจัย มจธ. ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยได้รับเกียรติจาก รศ. ดร.วนิดา พวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี ร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้ให้กับอาจารย์ นักวิจัย มจธ. จำนวน 18 ท่าน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทรางวัล ดังนี้

(1) รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

  1. รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ และคณะ
    รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
    ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะเฉพาะบุคคลสำหรับศัลยกรรมผ่าตัดขากรรไกรและโรคทางกระดูก” (Personalized Metal Implants for Maxillofacial and Orthopedic Surgeries)
  2. รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ
    รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

    ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมหมุดจัดฟันขนาดเล็กความแข็งแรงสูงโดยเพิ่มประสิทธิภาพจากกระบวนการปรับผิวแบบการยิงอนุภาคละเอียด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพเพื่อขึ้นทะเบียน อย. และการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน” (Innovation of Ultra-high Strength Micro Implant Anchorage Orthodontic Screw with Fine Shot Peening Process: Standard Testing, FDA Approval and Commercialization)

(2) รางวัลประกาศเกียรติคุณ

  1. ดร.ปราการเกียรติ ยังคง และคณะ
    สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    ผลงานเรื่อง “ระบบควบคุมแรงกดเฉพาะบุคคลอัตโนมัติเพื่อป้องกันแผลกดทับ” (Automatic Personalized-based Pressure Compensation System for Pressure Injury Prevention)
  2. ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว และคณะ
    สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

    ผลงานเรื่อง “การพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบช่วยกายภาพบําบัดผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณขาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และเกม” (The Development of Prototype Robot and Game of Physical Therapy for Amyotrophic Lateral Sclerosis using Artificial Intelligence)
  3. ผศ. ดร.ชุดาณัฏฐ์ สุดทองคง และคณะ
    สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

    ผลงานเรื่อง “ระบบและอุปกรณ์ประมวลผลเพื่อคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงหยุดหายใจ ขณะนอนหลับชนิดอุดกลั้น (โรคนอนกรน) โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)” (Processing Systems and Equipment to Screen Obstructive Sleep Apnea (snoring) Using Artificial Intelligence (AI))

(3) รางวัลผลงานวิจัย

  1. รศ. ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ และคณะ
    รางวัลระดับดีมาก สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

    ผลงานวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีวัสดุพรุนไทเทเนียมเพื่อพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกทางการแพทย์” (Development of Porous Titanium for Bone Replacement Materials)
  2. ดร.สธน ผ่องอําไพ (ร่วมวิจัย)
    รางวัลระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

    ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแหล่งกําเนิดพลังงานขนาดเล็กไทรโบอิเล็กทริก : จากทฤษฎีสู่ความเป็นไปได้ในการเป็นอุปกรณ์เก็บเกี่ยวพลังงานสิ่งแวดล้อมชนิดใหม่”(Development of a Triboelectric Nanogenerator: from Theory to Possibility for a New Environmental Energy Harvester)
  3. ศ. ดร.วุฒิพงษ์ คําวิลัยศักดิ์ และคณะ
    รางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์

    ผลงาน “วิธีการตรวจจับการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วย Attention-based YOLOv7 และการประเมินท่าทางของมนุษย์” (Novel Personal Protective Equipment Detection Technique with Attention-based YOLOv7 and Human Pose Estimation)
  4. ผศ. ดร.ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ (ร่วมวิจัย)
    รางวัลระดับดี สาขาสังคมวิทยา

    ผลงานวิจัยเรื่อง “นิยามความเป็นอยู่ที่ดีบนโลกดิจิทัลสำหรับสังคมไทย 5.0 : หนทางในการอยู่ร่วมกันจากประสบการณ์เชิงลึกระหว่างประชากรต่างรุ่นในสังคม” (Defining Digital Well-Being for Thailand 5.0: Solutions Gathered from Insight across Transgenerational Experiences)

(4) รางวัลวิทยานิพนธ์

  1. ดร.ปรินดา ปานเพชร อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.ธเนศ ธนิตย์ธีรพันธ์
    รางวัลระดับดี สาขาการศึกษา

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ PEEO โดยการอธิบายและการลงมือทําเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในมโนทัศน์ในเนื้อหาวงจรไฟฟ้าของนักเรียนอาชีวศึกษา” (The Development of Learning Strategy (PEEO) About Explaining and Enacting for Enhance Conceptual Understanding in the Electric Circuit for Vocational Students)

(5) รางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award

  1. ดร.ปฏิยุทธ พรามแก้ว และคณะ
    ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    ผลงานเรื่อง “การออกแบบและพัฒนาหมอนรองคอต้นแบบในการตรวจจับเสียงกรนด้วยเทคนิคสมองกลฝังตัวสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนกรน” (Design and Development of Prototype Pillow for Detecting Snoring with Embedded Technique for Elderly People with Snoring Problem Reality)
  2. ผศ. ดร.ญาณิน สุขใจ และคณะ
    ผลงานประดิษฐ์คิดค้น สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    ผลงานเรื่อง “ปั๊มความร้อนอุณหภูมิสูงเพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนในกระบวนการให้ความร้อนทางอุตสาหกรรม” (High Temperature Heat Pump for Decarbonization of Industrial Process Heat)
  3. ผศ. ดร.นพพร รุจิสัมพันธ์ และคณะ
    ผลงานวิจัย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์

    ผลงานเรื่อง “ผลึกเดี่ยว-สารละลายเพอรอฟสไกท์ สําหรับประยุกต์ในเซลล์แสงอาทิตย์” (Single crystals and Perovskite-solution for Solar Cell Applications)
  4. ดร.ณชมกมล แสงสุข อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.ณัฏฐา เลาหกุลจิตต์
    วิทยานิพนธ์ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การคัดแปรรูปเนื้อสัมผัสและปรับปรุงคุณภาพสเต็กหมูขึ้นรูปที่ง่ายต่อการเคี้ยว ด้วยโบรมิเลนและไฮโดรคอลลอยด์” (Texture Modification and Quality Improvement of Easily Chewable Restructured Pork Steak by Bromelain and Hydrocolloids)
  5. ดร.กรธัช องค์ตระกูลกิจ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ
    วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การเพิ่มความแข็งแรงทางกลของโลหะ Ti6AI4V ด้วยการรวมกันของกระบวนการปรับผิวไนโตดิ้งและการพ่นยิงด้วยอนุภาคละเอียด” (Enhancement of Mechanical Strength of Ti6AI4V by Combination of Nitriding and Fine Shot Peening)
  6. ดร.เกียรตินัฏพล จึงเจริญพูน อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. ดร.วิโรจน์ บุญอำนวยวิทยา
    วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาการดูดซับยาปฏิชีวนะบนตัวดูดซับพอลิเมอร์แบบไฮบริด” (A Study of Antibiotics Adsorption on Hybrid Polymeric Adsorbents)
  7. ดร.พัชรวัฒน์ เจริญอมรกิตติ์
    วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “การหาคุณสมบัติทางการถ่ายโอนมวลและไฟฟ้าเคมีจากการตอบสนองโวลตามเมตริกด้วยแบบจำลองผสมระหว่างการถ่ายโอนมวลและวงจรสมบูลโดยคำนึงถึงผลกระทบของกระแสไฟฟ้าแบบไม่ใช่ฟาราเดอิก” (Determination of Electrochemical and Mass Transport Properties from Voltammetric Responses by a Combined Model of Mass Transport and Equivalent Circuit Considering Effects of Non-Faradaic Current)
  8. ว่าที่ร้อยตรี ดร.พิชา พันธุ์มงคล อารย์ที่ปรึกษา รศ. ดร.อิศรทัต พึ่งอ้น
    วิทยานิพนธ์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย

    วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลกระทบของแก๊สรองหลังและแก๊สปกคลุมผสมต่อการกัดกร่อนแบบรูเข็มในการเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิมในอุตสาหกรรมอาหาร” (The Effect of Backing and Shielding Gas Mixture on Pitting Corrosion in Welding of Stainless Steel in Food Industry)