โครงการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้มีสมรรถนะด้านออกแบบการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (THAILAND PSF)

สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ ได้ดำเนินการโครงการจัดทำหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ให้มีสมรรถนะด้านออกแบบการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (THAILAND PSF) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในลักษณะแบบมีการร่วมลงทุนทางหลักสูตรมีกำหนดจัดอบรม เชิงปฏิบัติการรุ่นที่ 1 ให้กับอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 60 คน ในช่วงวันศุกร์ ที่ 21 – วันเสาร์ ที่ 22 มิถุนายน 2567 ณ Eastin Grand Hotel Sathorn ที่ผ่านมาได้รับทราบผลสะท้อนกลับสำคัญคือ ผู้เข้ารับการพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนภายใต้โครงการ OBEx มีสมรรถนะเพิ่มสูงขึ้นสามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้รับการพัฒนาไปประยุกต์ในการออกแบบ/ปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา หน่วยเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และบางส่วนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับอาจารย์เพื่อนร่วมวิชาชีพได้ นอกจากนี้ กลุ่มผู้เข้าร่วมหลักสูตรได้เสนอแนะให้มีการขยายผลการดำเนินโครงการไปสู่การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนการสอนในระดับอาจารย์ผู้สอน โดยมุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชา/หน่วยเรียนรู้ของตนเองเป็นหลัก จึงนำมาสู่เนื้อหาการอบรมในครั้งนี้

การอบรมวันที่ 21 มิถุนายน 2567 ภาคบรรยาย โดย

รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อบริหารโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ เรื่องสาระสำคัญกรอบการพัฒนาคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริมการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2566(Thailand PSF)

ผศ.ดร.ชเนนทร์ มั่นคง และทีม เรื่อง 1.ผลลัพธ์การเรียนรู้…ดูจากตรงไหน 2.Rubrics มาจากไหน ในระบบ OBE 3.แผนการสอนในระบบ Backward Design 4.การเรียนรู้แบบมีลำดับขั้น…..The Taxonomy

การอบรมวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ภาคบรรยาย โดย

ผศ.ดร.กวินพัฒน์ สิริกานติโสภณ และอาจารย์ปาณเลิศ ศิริวงศ์ เรื่อง 1.ความสัมพันธ์ระหว่าง LLO-CLO-PLO และการ Mapping CLO กับ หลักสูตร 2.การวิเคราะห์ผู้เรียนและการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหน่วยการเรียนรู้

ผศ.ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ เรื่องRecap of Learning Strategy และLearning Environment

ภาคฝึกปฏิบัติ Designing learning environment

แนะนำเพื่อนคู่คิดในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ “AI” (Simulation Show) และ รศ.ดร.วันดี สุทธรังสี นำเสนอ การนำกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์(Experiential Learning)

         ผู้เข้าร่วมหลักสูตรจะสามารถแสดงสมรรถนะด้านออกแบบการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (THAILAND PSF) ได้มากขึ้น และสร้างเครือข่ายทางด้านวิชาการและการทำวิจัยด้านการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP)