มจธ. ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสสวทท. และ สอวช. เยี่ยมชม มจธ. ในการดำเนินงาน แผนงาน Carbon Neutrality 2040

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จากสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท.) และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)  เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานแผนงาน Carbon Neutrality 2040 ของ มจธ.

ในช่วงเช้า รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต ประธานคณะทำงาน สสวทท นำคณะเข้าศึกษาดูงานแผนงาน Carbon Neutrality 2040 ของ มจธ. โดยมี รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย รักษาการแทนอธิการบดี มจธ., คุณสุเมธ ท่านเจริญ ที่ปรึกษาศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครง การหลวงและโครงการตามพระราชดำริ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร มจธ. ร่วมให้การต้อนรับ

โดยในช่วงแรก รศ.ดร.สุนีรัตน์ ฟูกุดะ ประธานคณะทำงานตามเป้าหมายเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้นำเสนอภาพรวมแผน การดำเนินการไปสู่เป้าหมาย Carbon neutrality 2040 ของ มจธ. จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยทั้งทางตรงทางอ้อม ทั้ง 4 พื้นที่การศึกษา ได้แก่ บางมด บางขุนเทียน ราชบุรี และอาคารเคเอกซ์ ในการลดคาร์บอนเพื่อนำไปสู่ การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2040 ณ ห้องประชุมประภา ประจักษ์ศุภนิติ สำนักงานอธิการบดี มจธ.

ในช่วงบ่าย ผศ.สุชาดา ไชยสวัสดิ์ นำคณะเยี่ยมชมนิทรรศการพร้อมแลกเปลี่ยนพูดคุยกับกลุ่ม นศ. Green Heart ในการรณรงค์การ ลดใช้พลังงาน โดยการปั่นจักรยานภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล รักษาการแทนผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนา ความยั่งยืนพาคณะเข้าเยี่ยมชม สถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า สถานีบริการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในรูปแบบแชร์ริ่ง

(EV sharing) ภายใต้แนวคิด Smart mobility พร้อมแนะนำขั้นตอนการใช้บริการโดยการสมัครใช้บริการและชำระเงินผ่านแอป พลิเคชัน HAUP

จากนั้น คุณปรีชา อาการศ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารอาคารและสถานที่ พาคณะเข้าเยี่ยมชม อาคารการเรียนรู้ พหุวิทยาการ (LEARNING EXCHANGE : LX) ในการออกแบบอาคารเขียว ภายใต้แนวคิด “อาคารที่ได้รับการออกแบบและก่อสร้าง อย่าง พิถีพิถัน โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด เพื่อให้ได้อาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใส่ใจต่อสุขภาพของผู้ใช้ อาคาร” หรือ Green Building รวมถึง การลดปริมาณขยะที่ส่งไปกำจัด โดยผ่านมาตรการลดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ภายใต้โครงการ zero waste และมาตรการ 3R การผลิต Refuse derived fuel (RDF) จากขยะ และการประยุกต์แนวทาง เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อให้ลดขยะเป็นศูนย์ เป็นต้น

KMUTT Carbon Neutrality 2040 ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของ มจธ.

ซึ่งจะบูรณาการกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์อีก 5 ด้าน (KMUTT Sustainable University for Sustainable Development Goals) ได้แก่ 1. การสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษา (Increasing the Student Engagement) 2. การสร้างผลกระทบเชิงบวกจากผลงาน วิจัยและนวัตกรรม (Demonstrating the Impact of Research and Innovation) 3. การสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน (Encouraging the Community Engagement) 4. การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Building Green Infrastructure & Environment) และ 5. การสร้างสรรค์ระบบการบริหารที่ยั่งยืน (Creating a Sustainable  Management System) 

โดย มจธ. ในฐานะหน่วยงานภาควิชาการ พร้อมที่จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในระดับองค์กรและทุกพื้นที่การศึกษา เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ( carbon  neutrality 2040)เพื่อสร้างการตระหนักในการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นผลกระทบสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ