การคมนาคมขนส่ง

ถึงแม้ว่าการคมนาคมอย่างยั่งยืนแบบนี้ได้ถูกบรรจุเป็นอีกหัวข้อหนึ่งในแผน SDGs 2030 หากแต่เป้าหมายในเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญต่อวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อมที่นำมาใช้ในหัวข้อแผน SDG ที่นำเสนอ โดยเฉพาะในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความปลอดภัยทางด้านอาหาร สุขภาพ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน เมือง และมนุษย์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทั้งนี้ บริการและโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งถือเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะบรรลุเป้าหมายตามแผน SDG ส่วนใหญ่ แม้จะไม่ครอบคลุมทั้งหมดก็ตาม ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

เป้าหมาย SDG ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม

แผนงาน 2030 ได้ระบุว่าระบบการคมนาคมที่ยั่งยืน รวมทั้งการเข้าถึงบริการด้านพลังงานที่มีต้นทุนที่เหมาะสม เชื่อถือได้ ยั่งยืน และเป็นพลังงานรุ่นใหม่ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและปรับเปลี่ยนได้ และนโยบายอื่นๆ ที่เป็นตัวเพิ่มความสามารถในการผลิต จะช่วยสร้างรากฐานด้านเศรษฐกิจที่แข็งแรงให้กับทุกประเทศ รายละเอียดได้ระบุถึงเป้าหมาย 5 ประการซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาคส่วนการคมนาคมโดยตรง รวมทั้งเป้าหมายอีก 7 ประการที่มีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับภาคส่วนการคมนาคม 

การคมนาคมจะมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมาย 5 ประการในเรื่องของความปลอดภัยบนท้องถนน (เป้าหมายที่ 3.6) การประหยัดพลังงาน (เป้าหมายที่ 7.3) โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 9.1) การเข้าถึงชุมชนเมือง (เป้าหมายที่ 11.2) และการส่งเสริมด้านเชื้อเพลิงจากเศษซากดึกดำบรรพ์ (เป้าหมายที่ 12) ที่มีการเน้นย้ำว่าการคมนาคมที่ยั่งยืนไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์ในด้านนั้นแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่จะมีความสำคัญในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายตามแผน SDG อีกเป็นจำนวนมาก 

การคมนาคมยังมีส่วนสัมพันธ์ทางอ้อมกับเป้าหมาย SDG 7 ประการ ซึ่งประกอบไปด้วย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร (เป้าหมายที่ 2.3) มลภาวะทางอากาศ (เป้าหมายที่ 3.9) การเข้าถึงน้ำดื่มที่ปลอดภัย (เป้าหมายที่ 6.1) เมืองแห่งความยั่งยืน (เป้าหมายที่ 11.6) การลดความสูญเสียในเรื่องของอาหาร (เป้าหมายที่ 13.1) และการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (เป้าหมายที่ 13.2)