Contamination of emerging-pathogenic-enveloped viruses i.e. SARS-CoV-2, a causative agent of COVID-19 and Monkeypox virus, in drinking water sources, has raised a concern among drinking water consumer. Recently, data on removal efficiency of the viruses in drinking water treatment process is still limited. In this study, KMUTT’s researchers investigated the removal efficiencies and mechanisms of model viruses, as a surrogate of pathogenic-enveloped viruses, and SARS-CoV-2 in the coagulation process, which is an important treatment technique applying for suspended solid removal in drinking water treatment process. Researchers found that the coagulation process efficiently removed both model viruses and SARS-CoV-2 from water and there were 2 main removal mechanisms including damage on lipid envelope and sorption onto clay flocs followed by sedimentation. Results of this study suggest that the coagulation process has a high potential, to deal with future threat viruses contaminating drinking water sources and can help producing safe drinking water.
ปัจจุบันไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ที่เป็นไวรัสชนิดที่มีเปลือกไขมันหุ้ม (Enveloped virus) เช่น ไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19 หรือ ไวรัส Monkeypox ที่ก่อโรคฝีดาษลิง เป็นต้น ได้สร้างความกังวลต่อผู้ใช้น้ำประปา เนื่องด้วยมีการตรวจพบการปนเปื้อนของไวรัสเหล่านี้ในแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อผลิตน้ำประปา โดยในปัจจุบันข้อมูลประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัสดังกล่าวในกระบวนการผลิตน้ำประปายังมีอย่างจำกัด ในงานวิจัยนี้ ทีมนักวิจัยจาก มจธ. ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพและกลไกการกำจัดไวรัสต้นแบบชนิดที่มีเปลือกหุ้มซึ่งใช้เป็นตัวแทนไวรัสก่อโรค และไวรัส SARS-CoV-2 ในกระบวนการโคแอกกูเลชั่น ซึ่งเป็นกระบวนการสร้าง-รวมตะกอนหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการผลิตน้ำประปาที่มุ่งเน้นเพื่อการกำจัดตะกอนแขวนลอยออกจากน้ำเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่ากระบวนการโคแอกกูเลชั่นนั้น สามารถกำจัดไวรัสต้นแบบ และไวรัส SARS-CoV-2 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไวรัสชนิดที่มีเปลือกไขมันหุ้ม ถูกกำจัดได้โดยกลไกการทำลายโครงสร้างของไวรัสโดยสารสร้างตะกอนที่ใส่ลงไป และโดยกลไกการดูดติดกับตะกอนขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นและตกตะกอนลงด้านล่าง ผลงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นได้ว่ากระบวนการโคแอกกูเลชั่นนั้นมีศักยภาพสูงในการกำจัดไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ในอนาคตที่อาจปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำจืด และสามารถช่วยผลิตน้ำประปาที่มีความปลอดภัยต่อการอุปโภคและบริโภคได้
𝗞𝗘𝗬 𝗙𝗶𝗻𝗱𝗶𝗻𝗴𝘀
• กระบวนการโคแอกกูเลชั่นโดยการเติมสารสร้างตะกอน 3 ชนิด สารส้ม สารโพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ และสารเฟอร์ริคคลอไรด์ สามารถกำจัดไวรัสต้นแบบและไวรัส SARS-CoV-2 ในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• สารสร้างตะกอนทั้ง 3 ชนิด ทำหน้าที่เป็นสารฆ่าเชื้อไวรัสในน้ำได้โดยการทำลายชั้นเปลือกไขมัน ชั้นโปรตีน และสารพันธุกรรมบนโครงสร้างของไวรัสชนิดที่มีเปลือกไขมันหุ้ม
𝗙𝗨𝗧𝗨𝗥𝗘 𝗙𝗢𝗥𝗪𝗔𝗥𝗗 ❯❯
Exploring KMUTT Research That Shapes Tomorrow
